วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อบรมฟรี ทำยาดมสมุนไพรรุ่นที่23 วันที่ 22ธันวาคม 2555 เวลา 13.00-16.30 น

อบรมทำยาดมสมุนไพรรุ่นที่ 23 -
 
วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00 น- 16.00 น. (ลงทะเบียน 12.30 น.) กรุณาลงทะเบียนก่อน(ลงทะเบียนได้ที่นี่ลงชื่อ-นามสกุล-เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ) หรือติดต่อ 086-000-8898 ( สำหรับท่านที่ได้ลงทะเบียนแล้วทางชมรมฯมิได้ติดต่อกลับเพราะว่าได้รับทราบแล้วท่านสามารถมาตามวันเวลาที่กำหนดได้เลย )ช่วยลงเบอร์โทร์ศัพท์ทุกครั้งเพื่อที่ชมรมฯจะติดต่อกลับในกรณีที่มีการเลื่อนตารางฝึกอบรมขอบคุณ
 
สนใจสมัครด่วนที่ link ด้านล่างค่ะ 
 

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มารู้จัก หมอพื้นบ้านกัน

มารู้จัก หมอพื้นบ้านกัน

1.หมอยาฮากไม้
เป็นหมอที่ใช้วิธีการรักษาด้วยสมุนไพร แร่ธาตุบางชนิด และเขี้ยวสัตว์ หรือส่วนต่างๆ ของสัตว์บางชนิด โรคส่วนใหญ่ที่รักษาได้แก่ โรคเลือด วิน (อาการปวดศีรษะ) และอาการผิดปกติของหญิงแม่ลูกอ่อนหลังอยู่ไฟ

2.หมอเป่า
มีวิธีการรักษาด้วยการเป่าต่างๆกันไป ส่วนประกอบที่ใช้และพบบ่อย คือ ปูนกินหมาก เคี้ยวกระทียมแล้วเป่า เคี้ยวหมากเป่า เคี้ยวใบไม้บางชนิดเป่า เป็นต้น โรคที่รักษา ได้แก่ ถ้าเลิดเด็กน้อย ปวดศีรษะ โรคผิวหนังบางชนิด (งูสวัด) เป็นต้น การที่หมอเป่าจะรักษาหายหรือไม่หายนั้น หมอเป่าเชื่อว่าเป็นเรื่องของการทำบุญร่วมกันมาในชาติก่อนของหมอกับผู้ป่วย

3. หมอน้ำมนต์
เป็นการรักษาโดยการทำน้ำมนตร์และพรมไปตามส่วนที่บาดเจ็บ เช่น กระดูกเคลื่อน หัก อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น รถชน ตกต้นไม้ เป็นต้น

4. หมอเอ็น
เป็นการรักษาโดยใช้หัวแม่มือ และนิ้วชี้ สำหรับจับเอ็นที่เคล็ดขัดยอกหรือกระดูกเคลื่อน

5. หมอพระ
เป็นพระที่หน้าที่รักษาโรค ได้แก่ อาการปวดหัว ปวดท้อง อารมณ์เสียบ่อย ๆ เป็นลมง่าย มีอาการชาตามตัว รักษาโดยการประพรมน้ำมนตร์ หรืออาบน้ำมนตร์ผูกแขนให้ และให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และให้สวดมนต์ก่อนนอน ผู้ป่วยที่มามักเป็นผู้ป่วยที่ไปโรงพยาบาลแล้วหมอตรวจโรคไม่พบ ซึ่งหมอพระเชื่อว่า อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มีสาเหตุมาจากผี หรือ ผีเฮ็ด (ผีทำ) ปัจจุบันหมอพระมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ

6. หมอลำผีทรง (หมอลำผีฟ้า)
ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงรักษาผู้ป่วยโดยการรำและมีแคนประกอบ ส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรม คือ พาคาย หรือถาดใส่แป้งกระแป้ง กระจกส่องหน้าเล็กๆ หรือน้ำมันใส่ผม หมอแคนเป่าเพลง วิธีการทำโดยหมอลำส่องกระจก และเจรจาโต้ถามกับผี จนในที่สุดผู้ป่วยลุกขึ้นฟ้อน แสดงว่าผีที่เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยพอใจ และผู้ป่วยจะหายในที่สุด หมอลำชนิดนี้รักษาผู้ป่วยได้เพราะมีผีเข้ามาเทียบ จะเรียกชื่อตามผีนั้นๆ เช่น หมอลำผีทรง หมอลำผีฟ้า (ที่มาของผีทรง ละผีฟ้าแตกต่างกัน หมอลำผีฟ้ามาจากที่สูงกว่า จากชั้น 9 แต่ผีทรงมาจากชั้น 5) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเลือกหมดลำผีทรง (ผีฟ้า) เป็นการรักษาหลังสุด หลังจากที่หมอรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้ว

7.หมอธรรม
ส่วนใหญ่จะเรียนวิชามาจากวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่บวชเรียน บางครั้งหมอธรรมถูเรียกว่า หมอผี เนื่องจากหมอธรรมรักษาผู้ป่วยอันมาจากผี เช่น ผีปอบ หมอธรรมรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีนั่งธรรม เพื่อหาสาเหตุว่า "ใคร" เป็นสาตุของความเจ็บป่วย เช่น ผีต่างๆ หรือ การละเมิดกฏเกณฑ์ของครอบครัวหรือชุมชน และจะดำเนินการรักษาไปตามสาเหตุนั้น ถ้าเป็นผีปอบ หมอธรรมมักจะใช้ไม้เท้าอันเล็กๆ หรือกาบกล้วยว่าคาถาแล้วตีไปที่ผู้ป่วยเพื่อไล่ให้ผีออก หรือใช้วิธีสวดธรรมในกรณีที่ผู้ป่วยถูกผี (ผีป่าผีเชื้อ) มากลั่นแกล้ง จบลงด้วยการสู่ขวัญ และอาบน้ำมนตร์ให้ผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหายแล้ว กับหมอธรรมจะเป็นลักษณะของ "พ่อเลี้ยงกัลป์ปบลูกเลี้ยง" คือจะต้องระลึกถึงหมอธรรมอยู่เสมอ โดยเฉพาะวันพระจะต้องนำดอกไม้สีขาวบูชาบนหิ้งของบ้านของผู้ป่วย ส่วนวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษาจะต้องไปแสดงมุทิตาจิตต่อหมอธรรม ผูกข้อมือเพื่อความสุขสวัสดี ผู้ป่วยที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นี้อาจจะล้มป่วยเอง และชาวบ้านเรียกว่าป่วยเนื่องจาก "ผิดของรักษา" ในสายตาของชาวบ้านแล้วหมอธรรมอยู่ในฐานะสูงกว่าหมอลำผีฟ้า เพราะหมอธรรมใช้ธรรมรักษา ส่วนหมอลำผีทรงใช้ผีซึ่งอยู่ในฐานะต่ำกว่าธรรม

8. หมอพร หรือหมอสู่ขวัญ
หรือหมอพรม (พราหมณ์) หมอสู่ขวัญหรือหมอพรถ้ามีความรู้ทางโหราศาสตร์ และดูฤกษ์ยามตลอดจนประกอบพิธีขึ้นบ้านใหม่ ทำพิธีก่อนลงเสาแฮก เสาขวัญ เรียกว่าพรม ชาวบ้านเชื่อว่าสาเหตุของความเจ็บป่วยประการหนึ่งคือ การที่ขวัญหนีคิง (ขวัญหนีออกจากร่าง) การที่จะให้มีร่างกายสู่สภาวะปกติจึงต้องเรียกให้ขวัญกลับเข้ามาอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การสู่ขวัญจึงเป็นการรักษา (curative medicine) การสู่ขวัญเพื่อให้ขวัญ "แข็งแรง" และเบิกบานเป็นการป้องกัน (preventive medicine) ได้แก่ การสู่ขวัญต้อนรับผู้มาเยือน การสู่ขวัญแม่มาน (หญิงมีครรภ์ก่อนคลอด) การสู่ขวัญนาค การสู่ขวัญพระก่อนเข้าพรรษา เป็นต้น เครื่องหมายที่แสดงว่าขวัญกลับเข้าอยู่ในร่างกาย คือการผูกแขนด้วยฝ้าย ตามสำนวนที่ว่า ผูกเบื้องซ้ายขวัญมา ผูกเบื้องขวาขวัญอยู่

9. หมอตำแย
ที่เป็นผู้หญิงและผู้ชายสามารถปฏิบัติงานได้แตกต่างกันคือหมอตำแยผู้หญิงจะทำหน้าที่เฉพาะการทำคลอด และการทำความสะอาดเด็กเท่านั้น ส่วนขั้นตอนต่อไปคือพิธีกรรมการเอาแม่ลูกอ่อนอยู่ไฟนั้นเป็หน้าที่ของหมอเป่า หรือกรณีคลอดยากอาจต้องให้หมอเป่าทำน้ำมนต์ให้หญิงมีครรภ์ดื่มเรียกว่าสะเดาะ แต่หมอตำแยผู้ชายสามารถทำได้ทุกขั้นตอนคือตั้งแต่การทำคลอด การทำความสะอาดเด็ก จนกระทั่งถึงพิธีกรรมการเอาแม่ลูกอ่อนอยู่ไฟ
การอยู่กรรม หรือ การอยู่ไฟ
ชาวอีสานเมื่อหญิงมีการคลอดบุตร หลังการคลอดจะมีการ “อยู่ไฟ“ หรือเรียกว่า "อยู่กรรม" การอยู่ไฟ เชื่อว่าสามารถทำให้แม่ลูกอ่อนมีสุขภาพแข็งแรง ผิวพรรณดี มดลูกเข้าอู่เร็ว ซึ่งจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อประกอบกับเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ในการดำเนินชีวิตให้กับแม่ลูกอ่อนและญาติพี่น้อง หญิงอยู่ไฟ จะต้องมีการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดมีข้อห้ามในการปฏิบัติมากมาย โดยเฉพาะเรื่องอาหาร คนอยู่ไฟถูกห้ามเรื่องอาหารแทบทุกชนิด เพราะกลัวจะกินอาหารที่เป็นของแสลงเข้าไป การห้ามกินของแสลงเรียกว่า “คะลำ” เช่น กินนก กินหนู จะเรียกว่าคะลำนกคะลำหนู
ลักษณะการอยู่ไฟคือจะให้แม่ลูกอ่อนนั่งที่สะแนน (ที่นั่งที่ทำขึ้นโดยเฉพาะมีลักษณะคล้ายแคร่) โดยจะมีคงไฟอยู่ข้างๆเพื่อให้ความร้อนแก่แม่ลูกอ่อนที่อยู่ไฟ ระยะเวลาอยู่ไฟจะมีตั้งแต่ 7 วัน ถึง 1 เดือน แล้วแต่ใครจะมีความสามารถปฏิบัติได้ขั้นตอนการอยู่ไฟ
1. แม่ลูกอ่อนจะอาบน้ำอุ่นชำระร่างกายแต่งกายโดยนุ่งผ้าถุงผืนเดียวใช้ผ้าพันอก
2. หมอพื้นบ้านจะทำพิธีผาบไฟ (พิธีป้องกันพิษไฟ พิษความร้อน) จะทำพิธีกินผีกินปอบไปพร้อมๆกัน
3. เข้านั่งในเรือนกรรม คือ นั่งบนสะแนน ซึ่งบริเวณที่ใช้อยู่ไฟเรียกว่าเรือนกรรม
4. เมื่อครบกำหนด 7 – 30 วันจะออกไฟ คือ ออกจากอยู่ไฟหมอพื้นบ้านก็จะทำพิธี
"เสียพิษไฟ" คือ การทำพิธีถอนพิษไฟ ปละจะตัดหางใบตองกล้วย ปิดฝาหม้อกรรม ( หม้อที่ต้มน้ำสมุนไพรเพื่อดื่มและอาบ ) แล้วคว่ำหม้อ เป็นสัญลักษณ์ถือว่า หมดกรรม การอยู่กรรมได้สิ้นสุดลงแล้ว

สมุนไพรที่ใช้ดื่มและอาบ
จะนิยมใช้แก่นมะขามต้มอาบ และใช้ต้นนมสาว เครือฮวงสุ่ม แก่นมะเฟืองส้ม ต้มสำหรับดื่มโดยเชื่อว่า แก่นขาม บำรุงหัวใจ นมสาว บำรุงน้ำนม รักษามดลูก และแก้ของแสลง ฮวงสุ่ม บำรุงเลือด แก่นมะเฟือง ขับเลือดเสีย บำรุงเลือด ทำให้เลือดลมดี
เมื่อเด็กคลอดจะทำพิธีพอกพาย พอกกำเริด เพื่อป้องกันผีกับคุณไสยต่างๆ และจะมีคำพูดว่า "นกเข้าฮ้องกุกกรู กุกกรู ถ้าแม่นลูกสูให้เกาไปมื้อนี้วันนี้ กายมื้อนี้ วันหน้า แม่นลูกกู จ๊ะจ๊ะ" ถ้าเด็กไม่ร้องก็จะตบกกก้นให้เด็กร้อง
การนอนของเด็ก จะนำกระด้งมาคว่ำลงใช้ผ้าปูนิ่มๆ นำเด็กนอน โดยจัดที่จัดทางให้สวยงาม คือ อย่าให้คอเอียง แขนขาพับ ใช้ผ้าอ้อมรองข้างๆ เด็ก เพื่อกันเด็กพลิกตัวผิดท่าผิดทาง อาจเกิดอันตรายได้ และรูปร่างไม่สวยสมบูรณ์

10. พิธีการโจลมะม็วด
เป็นภูมิปัญญาในการรักษาสุขภาพจิตชุมชนของชาวเขมรในจังหวัดสุรินทร์ เช่นเดียวกับการลำผีฟ้า แต่โจลมะม็วดจะมีเรื่องเทพ และฤทธิ์เดชเช้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า
คำว่า "มะม็วด" เป็นภาษาเขมรแปลว่า แม่มดหรือว่าร่างทรง เป็นบุคคลที่สามารถให้เทวดามาทรงได้ โดยมากเป็นชาวบ้าน ทำมาหากกินตามปกติต่อมามีอาการป่วย เช่นชักกระตุกแล้วสลบไป พูดจาสับสน เพ้อๆ ฝันๆ เพี้ยนไปจากปกติ เป็นๆ หายๆ แม้รักษาอย่างไรก็ไม่หายบางคนมีอาการนานนับปีๆ กว่าจะค้นหาสาเหตุพบว่ามีคนเข้าทรงแล้วบอกว่ามีเทวดาขออยู่ด้วย เมื่อรู้สาเหตุแล้วทำพิธีต้อนรับ โดยการนำคนทรงอื่นที่เชี่ยวชาญมาเป็นพี่เลี้ยง ให้ลองเข้าทรงดู เมื่อเข้าทรงได้ก็จัดสักการะบูชาตามที่แม่มดบอก อาการเจ็บป่วยก็ทุเลาและหายไปเองในที่สุด คนที่เป็นร่างททรงของแม่มดทุกๆ ปี บางคนมีความสามารถทำนายเหตุการณ์ต่างๆ ได้แม่นยำ รักษาโรคเก่ง

พิธีกรรมโจลมะม็วด จะต้องเลือกวัน มักเลือกวันพฤหัสบดีและวันอังคาร ถือว่าเป็นวันครู และไม่เล่นในวัน 15 ค่ำทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เนื่องจากอัคคนิโรธที่เทพารักษ์ การเริ่มทำพิธี เริ่มแรก แม่มดระดับครูจะเข้าสู่ที่นั่งเริ่มเข้าทรง ดนตรี คือกันตรึมเริ่มบรรเลง สักครู่หนึ่ง "ครู" ประจำตัวของแม่มดหัวหน้าก็เข้าประทับทรง พูดจา แต่งเนื้อแต่งตัวแล้วเรียกพรายของบรรดาเจ้าภาพเข้ามาประทับทรงเพื่อผนึกกำลังในตัวแม่มดคนเดียว แต่งกายทะมัดทะแมงถือดาบร่ายรำแล้วออกไปข้างนิกปะรำไปรำดาบทำท่ารบพุ่งกับภูติผี จะมีผู้คอยถามถึงสาเหตุที่มาทำให้คนไข้เจ็บป่วย แม่มดจะตอบถึงสาเหตุนั้นๆ เช่น เพราะไม่ทำที่ให้อยู่หรือโกรธที่พวกมึงผิดพ้องหมองใจกันในหมู่ญาติพี่น้องกันเอง แม่มดบังคับให้คืนดีกันเสีย คนถามจะถามว่าต้องการอะไร แม่มดก็จะบอกว่าต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ เสื้อผ้าอาหาร หรือของเล่นต่างๆ ในที่สุดก็บอกว่าให้ร่ายรำเล่นเถอะมาแล้วก็ต้องสนุกสนานเถอะ แม่มดก็แต่งกายและรำเล่น สมัยก่อนมีการสวมเล็บที่ทำด้วยเงินยาวๆ แบบระบำฟ้อนเล็บรำสวยงาม ในที่สุดท้ายก็จะร่วมฟ้อนรำโดยดนตรีบรรเลง เมื่อสิ้นสุดเพลงสุดท้ายแล้ว พวกเทพก็พากันออกจากร่าง โดยจับขันหมุนแล้วออกไป เป็นอันเสร็จพิธี

ที่มา : ภาพเขียนสีภายในห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
 
เครดิตข้อมูลจาก Facebook : คุณปณิตา ถนอมวงษ์

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟรี ฟรี ฟรี อบรมทำ "ครีมนวดผมดอกอัญชัน" วันที่ วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00 น- 16.00 น

 ฟรี  ฟรี  ฟรี  อบรมทำครีมนวดผมดอกอัญชัน - วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00 น- 16.00 น. (ลงทะเบียน 12.30 น.)  ที่ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย 

-สอนวิธีเลือกซื้อวุตถุดิบ
-ฝึกปฎิบัติจริง
-การทำตลาด

กรุณาลงทะเบียนก่อน(ลงทะเบียนได้ที่นี่ลงชื่อ-นามสกุล-เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ)

สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าที่ Link ด้านล่าง http://doodle.com/qrzvk4w3f2rpfbft

อบรมฟรี " น้ำยาล้างจานสมุนไพร " วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 เวลา 9.00 - 12.00 น.

อบรมฟรีน้ำยาล้างจานจากสมุนไพร - วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2555 เวลา 09.00 น- 12.00 น. (ลงทะเบียน 08.30 น.) กรุณาลงทะเบียนก่อน(ลงทะเบียนได้ที่นี่ลงชื่อ-นามสกุล-เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ) หรือติดต่อ 086-000-8898 ( สำหรับท่านที่ได้ลงทะเบียนแล้วทางชมรมฯมิได้ติดต่อกลับเพราะว่าได้รับทราบแล้วท่านสามารถมาตามวันเวลาที่กำหนดได้เลย )ช่วยลงเบอร์โทร์ศัพท์ทุกครั้งเพื่อที่ชมรมฯจะติดต่อกลับในกรณีที่มีการเลื่อนตารางฝึกอบรมขอบคุณ

สามารถลงทะเบียนตาม Link ด้านล่างได้เลยค่ะ http://doodle.com/pr9ihmcdv7ztq6wz

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติพ่อปู่ ชีวกโกมารภัจ

ชีวกโกมารภัจ เป็นลูกของนางสาลวดี ซึ่งเป็นหญิงโสเภณีในเมืองราชคฤห์ธรรมดา หญิงโสเภณีจะไม่เลี้ยงลูกชาย เพราะช่วยสืบสายอาชีพไม่ได้ ดังนั้นเมื่อนางคลอดลูกออกมา แล้วรู้ว่าเป็นเพศชาย จึงให้สาวใช้นำลูกชายใส่กระด้งไปวางไว้ที่กองขยะ
จากกองขยะมาเป็นลูกเจ้า      บ่ายวันนั้น อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จประพาสพระนคร ผ่านมาทางนั้น เห็นฝูงนกการุมล้อมเด็กทารกอยู่ ตรัสสั่งให้นายสารถีไปดูว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่ หรือเปล่า เมื่อนายสารถีกลับมากราบทูลว่ายังมีชีวิตอยู่จึงรับสั่งให้อุ้มมาแล้วนำเข้าไปมอบให้ นางนมเลี้ยงดูเป็นอย่างดีภายในประราชนิเวศแล้วตั้งชื่อให้ว่า “ชีวก” ซึ่งมาจากคำว่า “ชีวิต” คือรอดชีวิตมาได้ เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ประทานนามเพิ่มเติมว่า “โกมารภัจ” ซึ่งหมายถึง เป็นบุตรบุญธรรมของพระราชกุมาร ทรงชุบเลี้ยงดูโอรสแท้ ๆ ของพระองค์ แม้ พระเจ้าพิมพิสารก็โปรดปรานประดุจหลานของพระองค์ และประชาชนทั่วไปก็เข้าใจว่าเป็น โอรสที่แท้จริง ของอภัยราชกุมาร
หนีจากวังหาสำนักศึกษา  เมื่อชีวกโกมารภัจ เจริญเติบโตเข้าสู่วัยเรียน และทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า จึงต้องการ ที่จะศึกษาวิชาความรู้เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต อาชีพที่เขาชอบคือหมอรักษาโรคเพื่อช่วย เหลือชีวิตมนุษย์ ดังนั้น เขาได้หนีออกจากวังเดินทางไปกับกองเกวียนพ่อค้า จนถึงเมืองตัก สิลา แล้วให้พ่อค้าที่เขาอาศัยมานั้นช่วยพาไปฝากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ คือ พระฤาษีโรคามฤกษตริณณา ผู้เป็นเจ้าสำนัก ชีวกได้มอบหมายถวายตัวเป็นศิษย์รับใช้ ทำงาน ทุกอย่างในสำนักอาจารย์เพื่อแลกกับวิชาความรู้เพราะตนไม่มีทรัพย์สินเป็นค่าเรียน เขาศึกษา อย่างตั้งอกตั้งใจ ทำให้เรียนได้เร็วกว่าศิษย์คนอื่น ๆ และสำเร็จจบหลักสูตรใน ๗ ปี ซึ่งปกติคน อื่น จะเรียนถึง ๑๖ ปี แม้จบหลักสูตรแล้ว ก็ยังมีความสงสัยในความรู้ของตนเองว่าอาจจะไม่ สมบูรณ์ จึงเข้าไปปรึกษาอาจารย์ ซึ่งอาจารย์ได้สั่งให้เขาออกไปหาต้นไม้ใบหญ้าหรือพืชชนิด ใดชนิดหนึ่งก็ได้ ที่เห็นว่าใช้ทำยาไม่ได้มาให้อาจารย์ เขาได้ใช้เวลาหลายวันเข้าไปในป่ารอบ ๆ เมืองตักสิลา ค้นหาจนทั่วก็ไม่พบใบหญ้าหรือพืชสักชนิดเดียวที่ใช้ทำยาไม่ได้ จึงรู้สึกผิดหวัง กลัวอาจารย์จะตำหนิแต่พอแจ้งแก่อาจารย์แล้ว อาจารย์กลับยิ้มอย่างพอใจและกล่าวว่า “เธอ เรียนจบแล้ว ออกไปประกอบอาชีพรักษาคนไข้ได้แล้ว”
ชีวกโกมารภัจได้เรียนวิชาแพทย์พิเศษ  ชีวกโกมารภัจ เป็นศิษย์ที่มีอัธยาศัยดี มีความเคารพนับถือเชื่อฟังอยู่ในโอวาทของ อาจารย์ มีความกตัญญูกตเวที มีศีลธรรม และอัธยาศัยความสุขุมละเอียดเยือกเย็น สุภาพเรียบ ร้อยไม่พลาดพลั้ง อีกทั้งเชาว์ปัญญาก็ดีเยี่ยมจึงเป็นที่รักของอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงเมตตาสอน วิชาแพทย์พิเศษให้อีกแขนงหนึ่ง ซึ่งอาจารย์จะไม่ค่อยสอนให้แก่ใคร ๆ คือ วิชาประสมยา ปรุง ยาขนานเอก พร้อมทั้งวิธีการรักษาโรคให้ด้วย ยาขนานนี้พิเศษจริง ๆ สามารถรักษาโรคได้ทุก ชนิด และวางยาครั้งเดียวไม่ต้องซ้ำ ยกเว้นโรคที่เกิดจากผลกรรมรักษาไม่ได้ เมื่อศึกษาจบครบ วิชาการที่อาจารย์ประสิทธิ์ประสาทให้แล้วได้ลาอาจารย์กลับสู่บ้านเมืองของตน
คนไข้คนแรกของชีวกโกมารภัจจ์   หมอชีวกโกมารภัจจ์ ออกเดินทางจากเมืองตักสิลามุ่งสู่กรุงราชคฤห์พักผ่อนรอนแรม ในระหว่างทางเสบียงที่อาจารย์มอบหมายก็ใกล้หมด จึงเที่ยวหารักษาใช้พอดีภริยาเศรษฐีใน เมืองสาเกตเป็นโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลาประมาณ ๗ ปี พยายามรักษาสิ้นทรัพย์จำนวนมากก็ ไม่หาย หมดอาลัยในชีวิตจึงปล่อยไปตามกรรม
. เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ ทราบจึงเข้าไปอาสารักษาให้ ทั้งคนไข้และเศรษฐีเห็นหมอยัง หนุ่มอยู่ไม่เชื่อความสามารถ จึงบอกปัดไม่ยอมให้รักษา เพราะเกรงว่าจะเสียค่ารักษาเปล่า ๆ ไม่ได้ประโยชน์ แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์บอกจะรักษาให้ก่อน เมื่อหายแล้ว จึงจะรับค่ารักษา ดัง นั้นเศรษฐีและภริยาจึงตอบตกลงยอมให้รักษา หมอชีวกโกมารภัจจ์ ประกอบยาให้นัตถุ์เข้าทาง จมูก ฤทธิ์ยาทำให้คนไข้อาเจียนออกมาทางปาก หลังจากนั้นโรคของนางก็หายเป็นปกติ เขาได้ รับค่ารักษาและรางวัลมาถึง ๑๖๐๐๐ กหาปณะ แล้วเดินทางต่อไปจนถึงกรุงราชคฤห์
  เมื่อถึงแล้วหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้เข้าเฝ้าพระบิดาอภัยราชกุมาร กราบทูลขออภัยโทษ ที่หนีไปโดยมิได้ทูลลา ทูลเล่าเรื่องการศึกษาวิชาแพทย์ตั้งแต่ต้นจนจบ ตลอดจนการเดินทาง กลับแล้วได้ถวายเงินรางวัลที่ได้รับระหว่างทางแก่พระบิดา พระอภัยราชกุมารทรงปลาบปลื้มพระทัย คืนทรัพย์สินที่ถวายให้กลับคืนเพื่อเป็นทุนใช้สอย
ประวัติการรักษาโรคครั้งสำคัญ  เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ เดินทางถึง กรุงราชคฤห์แล้ว ได้รับรักษาโรคต่าง ๆ จนมีชื่อ เสียงปรากฏเลื่องลือทั่วทั้งกรุงราชคฤห์และแคว้นอื่น ๆ การรักษาโรครั้งสำคัญของหมอชีวก ก็ คือ
๑. รักษาโรคริดสีดวงทวารให้พระเจ้าพิมพิสารจนหายสนิท ทำให้พระองค์สบาย พระวรกายขึ้นได้พระราชทานรางวัลเป็นอันมากทั้งทรัพย์สินเงินทอง ข้าทาสบริวารและที่ดิน แต่หมอชีวกขอรับเพียงอย่างเดียวคือสวนมะม่วง จากนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงแต่งตั้งให้เป็น แพทย์หลวงประจำพระองค์
๒. ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ ซึ่งป่วยปวดศีรษะมานานเกือบ ๑๐ ปี
๓. ผ่าตัดโรคฝีในลำไส้ให้ลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี
๔. รักษาอาการประชวรด้วยโรควัณโรคปอด ให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี
ในการรักษาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้น หมอชีวกเกือบถูกประหารชีวิตเนื่องจากพระ องค์ท่านมีพระอัธยาศัยโหดร้าย สั่งประหารคนง่าย ๆ โดยไม่มีเหตุผลและพระองค์เกลียดกลิ่น เนยใสเป็นที่สุด บังเอิญยาที่จะรักษานั้นก็มีส่วนผสมเนยใสอยู่ด้วย ทำให้หมอชีวกหนักใจมาก จึงวางแผนเตรียมก่อนที่จะถวายการรักษา ได้กราบทูลขอพระราชทานช้างชื่อภัททวดี ซึ่งมีฝี เท้าเร็ว และประตูเมืองหนึ่งประตู โดยอ้างว่าเพื่อสะดวกในการออกไปเที่ยวหาตัวยาสมุนไพร ซึ่งบางชนิดต้องเก็บในเวลากลางคืน บางชนิดต้องเก็บในเวลากลางวัน การรักษาจึงจะได้ผล
หลอกให้พระเจ้าจุณฑปัชโชต เสวยเนยใส  หมอชีวกได้ผสมยาโดยเคี่ยวใส่เนยใสบนเตาไฟจนสี รส และ กลิ่น เปลี่ยนไปเสร็จ แล้วนำเข้าไปถวายพระราชากราบทูลว่าเป็นโอสถสูตรใหม่มิได้ผสมเนยใสเมื่อพระราชาเสวย แล้วกราบทูลลากลับเพื่อขอไปจัดโอสถมาถวายอีก พอออกมาพ้นพระราชนิเวศน์แล้วรีบตรงไปยังโรงช้าง แจ้งแก่พนักงานดูแลช้างว่าขอช้างพังชื่อภัททวดี เพื่อรีบไปเก็บตัวยาเมื่อขึ้นหลังช้างแล้วรีบออกจากกรุงอุชเชนี ทันที
  พระโอสถที่พระจ้าจัณฑปัชโชตเสวยแล้ว ก็ละลายกระจายรสและกลิ่นออกมา ทำให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต ได้กลิ่นเนยใส จึงกริ้วขึ้นมาทันที รับสั่งให้ทหารรีบไปจับตัวหมอชีวกมา โดยเร็ว เมื่อทรงทราบว่าหนีออกจากเมืองไปแล้วรับสั่งให้ทหารนำพาหนะที่มีฝีม้าเร็วติดตาม จับตัวมาให้ได้ และทหารผู้นั้นก็ได้ติดตามไปทับ ณ หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามที่หมอชี วกได้คาการณ์ไว้แล้วจึงเตรียมยาระบายอย่างแรงซ่อนไว้ในเล็บ เมื่อนายทหารผู้นั้นจะเข้ามาจับ กุม จึงถูกหมอชีวกหลอกให้กินยาระบายจนถ่ายท้องหมดเรี่ยวแรง ปล่อยให้หมอชีวกหนีต่อไปได้
   ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชต เมื่อพระโอสถออกฤทธิ์แล้ว พระอาการประชวรก็หายเป็น ปกติ พระวรกายโปร่งเบาสบาย รู้สึกขอบใจหมอชีวก แม้ทหารที่ติดตามไปจับตัวหมอชีวก แล้วถูกหลอกให้กินยาระบายจับตัวไม่ได้ กลับมารายงานแล้ว พระราชาก็มิได้กริ้วโกรธแต่ ประการใด รับสั่งให้จัดส่งของมีค่าหลายประการรวมทั้งผ้าเนื้อดีจากแคว้นการสี อันเป็นที่นิยม กันว่าเป็นผ้าดีฝีมือการเย็บการทอยอดเยี่ยมกว่าผ้าเมืองอื่น ๆ ให้ทูตนำไปมอบให้แก่หมอชีวก โกมารภัจจ์ ที่กรุงราชคฤห์ หมอชีวกรับของรางวัลมาแล้วพิจารณาเห็นว่าเป็นผ้าเนื้อดีไม่สมควร ที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้เก็บรักษาไว้เพื่อ นำไปถวายพระบรมศาสดาต่อไป
แพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์  พระเจ้าพิมพิสารนอกจากจะแต่งตั้งให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นแพทย์ประจำพระองค์ แล้ว ยังมอบให้รับหน้าที่เป็นแพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอีกด้วย  หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้เคยถวายการรักษาให้พระบรมศาสดาครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง คือ
ครั้งแรก ได้ปรุงยาระบายชนิดพิเศษถวาย เพื่อระบายสิ่งหมักหมมในพระวารกายออก  ครั้งที่สอง ในคราวที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์พระศาสดาแต่หินกลิ้งไป ผิดทาง มีเพียงสะเก็ดหินก้อนเล็ก ๆ กระเด็นมากระทบพระบาทจนทำให้พระโลหินห้อขึ้น หมอชีวกได้ปรุงพระโอสถพอกที่แผลแล้วใช้ผ้าพันแผลไว้พอรุ่งขึ้นตอนเช้าแผลก็หายสนิท เป็นปกติ
นอกจากนี้หมอชีวกยังได้ให้การรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคต่าง ๆ โดยไม่คิด มูลค่า จนไม่ค่อยจะมีเวลารักษาให้คนทั่ว ๆ ไป เพราะท่านหมอมีความห่วงใยพระภิกษุสงฆ์ มากกว่าจงเป็นเหตุให้คนบางพวกเมื่อเจ็บป่วยหรือเป็นโรคขึ้นมา ก็พากันมาบวชเพื่อสะดวกแก่ การให้หมอรักษา พอหายดีแล้วก็ลาสิกขาไป
กราบทูลขอพรห้ามบวชคนที่มีโรคติดต่อ  สมัยหนึ่งในพระนครราชคฤห์เกิดโรคสกปรก โรคติดต่อและโรคร้ายแรง ระบาดไป ทั่วกรุงละจังหวัดใกล้เคียง เช่น  = กุฏฐัง  = โรคเรื้อน  = คัณโฑ  = โรคฝีดาษ  = กิลาโส = โรคกลาก  = โสโส  = โรคไข้มองคร่อ  = อปมาโร  = โรคลมบ้าหมู    ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นกันทั่วไปแก่ประชาชนพลเมือง ทั้งภายนอกทั้งภายในราชสำนัก ตลอดจนพระสงฆ์ในอารามต่าง ๆ หมอทั้งหลายต้องทำงานกันอย่างหนัก ส่วนหมอชีวกโกมาร ภัจจ์ ก็จะให้การรักษาแก่พระภิกษุสงฆ์และบุคคลภายราชสำนักก่อน เนื่องจากหมอชีวกโกมาร ภัจจ์ รักษาแล้วได้ผลหายเร็วค่ารักษาถูกกว่าหมออื่น โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์แล้วจะรักษาให้ โดยไม่คิดค่ายาค่ารักษาแต่ประการใด
   ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีคนคิดอาศัยพระศาสนาเพื่อเข้ามารักษาตัว โดยเข้ามาบวชเป็น พระให้หมอรักษาจนหายจากโรคที่เป็นอยู่แล้วก็สึกออกไป และคนพวกนี้ก็เป็นตัวนำเชื้อโรค บางอย่างมาแพร่เชื่อติดต่อให้พระ เช่น โรคเรื้อนและโรคกลากเกลื้อน เป็นต้น จนระยะหลัง ๆ หมอชีวกสังเกตเห็นว่าคนหัวโล้นมีมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม เมื่อสอบถามดู จึงได้ทราบความจริงว่าเพิ่งสึกมาจากพระ และที่บวชก็มิได้บวชด้วยศรัทธา แต่บวชเพื่อรักษา ตัว เมื่อโรคหายแล้วก็สึกออกมา
  ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งหมอชีวกเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลของพรว่า “ขออย่าได้บวชให้คนที่มีโรคติดต่อทั้ง ๕ ชนิดข้างต้นเลย”  พระพุทธองค์ประทานให้ตามที่กราบทูลขอ และได้ประกาศให้ภิกษุสงฆ์ทราบโดยทั่ว กัน ตั้งแต่นั้นมา คนที่เป็นโรคทั้ง ๕ ชนิดนั้นก็ไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้
 กราบทูบขอพรให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้  หมอชีวกโกมารภัจจ์ หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชตจนหาย เป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อ ดี อย่างนี้ ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้” พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ
  การที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้นภิกษุใช้สอยแต่ ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ชาวบ้านทั้งหลายทิ้งตามกองขยะบ้าง กองหยากเยื่อบ้าง ผ้าที่ห่อศพทิ้งในป่า บ้าง นำมาทำความสะอาดแล้วเย็บย้อมเป็นผ้าสบงจีวร สำหรับนุ่งห่ม จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้าน ถวาย หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอพรและ ได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก ผ้าที่ภิกษุรับอย่างนี้เรียกว่า “คฤหบดีจีวร”
  แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธ ดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้ รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้ พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกผู้ถวายผ้านั้น เมื่อ จบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือพระ โสดาบัน
หมอชีวกโกมารภัจจ์ สร้างวัด   หมอชีวกโกมารภัจจ์ เมื่อยามว่างเว้นจากการรักษาคนไข้ก็หวนคิดถึงตนเอง มีความ ปรารถนาจะเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบรมศาสดาอย่างน้อยวันละ ๒ เวลา เช้า-เย็น เพื่ออบรมจิตใจได้ มากขึ้น แต่วัดเวฬุวันก็ตั้งอยู่ห่างไกลจากบ้าน อีกทั้งไม่สะดวกในการฟังธรรม และการรักษา พยาบาลภิกษุไข้ จึงได้น้อมนำถวายสวนมะม่วงที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้แก่ตนนั้น สร้างวัดถวายในพระพุทธศาสนาสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับส่วนพระพุทธองค์ พร้อมด้วยกุฏ สงฆ์ ศาลาฟังธรรมบ่อน้ำ และกำแพงขอบเขตวัดพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งแล้ว กราบทูลอาราธนา พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเสด็จเข้าประทับยังพระอารามใหม่นั้นถวาย อาหารบิณฑบาตเป็นการฉลองพระอารามแล้ว หลังน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของ พระบรมศาสดา กล่าวอุทิศถวายมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร ให้เป็นศาสนสถานอยู่จำ พรรษาของภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ พระอารามใหม่นี้ได้นามตามผู้ถวายว่า “ชีวกัมพวัน” (ชีวก+อัมพวัน)
พาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อชาตศัตรูราชกุมาร มีพระอัธยาศัยคิดทรยศไม่ซื่อตรง ขาดความจงรักภักดีต่อพระเจ้า พิมพิสาร ผู้เป็นพระราชบิดาอยู่แล้ว ต่อมาได้คบหาสมาคมกับพระเทวทัต มีศรัทธาเลื่อมใสได้ ให้ความอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย ๔ ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระบิดา อีกทั้งให้การ สนับสนุนพระเทวทัตกระทำอนัตริยกรรมลอบปลงพระชนม์พระบรมศาสดาและทำสังฆเภท ทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน  ต่อมา พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบเพราะกระทำกรรมหนัก พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทราบ ข่าวก็สะดุ้งพระทัยกลัวภัยจะถึงตัว ถึงกับเสวยไม่ได้บรรทมไม่หลับติดต่อกันหลายวัน กลัด กลุ้มพระทัยเป็นที่สุด คืนเพ็ญวันหนึ่งพระองค์ไม่สามารถจะนิทราหลับลงได้ จึงเรียกอำมาตย์ ทั้งหลายเข้าเฝ้ายามดึกทรงปรึกษาว่า “คืนเดือนเพ็ญอย่างนี้จะไปหาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลคนดี จึงจะสามารถทำจิตใจให้สงบได้” พวกอำมาตย์ล้วนแต่แนะนำเดียรถีย์อาจารย์ของตน ได้แก่ ครูทั้ง ๖ ซึ่งพระเจ้าอชาต ศรัตรูก็เคยไปฟังคำสอนมาแล้วล้วนแต่ไร้สาระทั้งสิ้น
  หมอชีวกโกมารภัจจ์ อยู่ในที่นั้นด้วย จึงกราบทูลแนะนำให้ไปเฝ้า พระสมณโคดมบรมศาสดา ซึ่งขณะนี้พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ชีวกัมพวันใกล้ ๆ บ้านของตน นี่เอง พระเจ้าอชาตศรัตรูทรงเห็นด้วย จึงเสด็จไปพร้อมด้วยกองจตุรงคเสนา เมื่อเสด็จไปถึง ได้เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ตรัสทักทายปฏิสันถารขึ้นก่อนแล้ว ตรัสถามถึงราชกิจต่าง ๆ ทำให้พระเจ้าอชาตศรัตรูไม่เก้อเขิน และทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ที่ พระพุทธองค์ไม่ทรงถือโทษในการกระทำของพระองค์ที่ผ่านมา
  พระพุทธองค์ ทรงทราบว่าพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระทัยผ่องใสดีแล้ว จึงแสดงพระธรรม เทศนา สมัญผลสูตร ให้ทรงสดับ เมื่อจบลงทรงมีพระทัยผ่องใสโสมนัสยิ่งขึ้น เกิดศรัทธา เลื่อมใสถวายตัวเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต (ถ้าพระองค์ไม่ทำ ปิตุฆาตคือฆ่าพระบิดาเสียก่อน ก็จะได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นแน่) จากนั้น ได้กราบขอขมาโทษต่อพระพุทธองค์เสด็จกลับพระราชนิเวศน์
   หมอชีวกโกมารภัจจ์ ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ทั่วไปเป็นอเนกประการ ท่านเป็นอุบาสกผู้เป็นพระอริยชั้นพระโสดาบัน พระบรมศาสดา ได้ ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เลื่อมใสในบุคคล

ข้อมูลจาก
สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อบรมฟรี อบรมอาชีพฟรี " น้ำยาบ้วนปากสูตรสนุนไพร " วันที่ 10 พ.ย 2555

อบรมฟรี  เพื่อนำไปประกอบอาชีพ หรือหารายได้เสริม   โดย  "ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทย " วันที่ 10 พ.ย.2555 เวลา 9.00 - 12.00 น.

สอนฟรี  " น้ำยาบ้วนปากสูตรสมุนไพร " สอนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ ส่วนผสมอย่างละเอียด  ปฎิบัติจริง  เทคนิคการทำการตลาด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สนใจลงทะเบียนด่วน  click link   ด้านล่าง หรือโทรจอง 02-9841955,086-0008898

http://www.doodle.com/p568nyi53y5frbw3


วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นพเก้า ความหมายดีดีของอัญมณีที่ไม่เคยตกยุค

นพเก้า แทนความหมายของอัญมณีเก้าชนิด ประกอบด้วย
           เพชรดี มณีแดง              เขียวใสแสง มรกต
         เหลืองใสสด บุษราคัม      แดงแกก่ำเอก โกเมน
         สีหมอกเมฆ นิลกา           มุกดาหาร หมอกมัว
         แดงสลัก เพทาย              สังวาลย์สาย ไพฑูรย์

เชื่อกันว่าอัญมณีแต่ละชนิด จะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงล แตกต่างกัน กล่าวคือ
1. เพชร               สิริมงคลคือ เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ มีชัยแก่ศัตรู ร่ำรวย
2. มณี (ทับทิม)     สิริมงคลคือ ความสำเร็จ ลาภยศ อายุยืน
3. มรกต               สิริมงคลคือ ความศรัทธา กล้าหาญ ป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง
4. บุษราคัม           สิริมงคลคือ มีเสน่ห์เป็นที่รัก
5. โกเมน              สิริมงคลคือ สุขภาพดี อายุยืนนาน
6. นิลกาฬ (ไพลิน) สิริมงคลคือ ความรัก ความเมตตากรุณา ความร่ำรวย
7. มุกดาหาร          สิริมงคลคือ ความบริสุทธิ์ ร่มเย็น และชนะแก่ศัตรู
8.เพทาย              สิริมงคลคือ ความร่ำรวย ชนะคดีความ
9. ไพฑูรย์            สิริมงคลคือ เทวดาคุ้มครอง ป้องกันฟืนไฟ

มีกลอนที่แทนความหมายของอัญมณีแต่ละชนิดมาฝากกันค่ะ

เพชรยิ่งใหญ่ ไพรี ไม่มีกล้ำ        ทับทิมนำ อายุยืน เพิ่มพูนผล

อุดมลาภ ยศศักดิ์ ประจักษ์ดล     มรกต กันภัยพ้น ผองเล็บงา 

บุษราคัม ฉาบเสน่ห์ ไม่เสแสร้ง   โกเมนแจ้ง แคล้วพาลภัย ใจสุขา   

ไพลินย้ำ ความร่ำรวย ช่วยนำพา   มุกดาหาร เสน่หา น่าเมียงมอง

อันเพทาย ช่วยกันโทษ ที่โฉดเขลา   ไพฑูรย์เล่า กันฟอนไฟ ภัยทั้งผอง 

ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านภาคปฏิบัติสาขาการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2555

ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ผ่านการสอบทุกท่านนะคะ 

สาขาเวชกรรมไทย  มีผู้ที่สอบผ่าน 456 คน

http://mrd.hss.moph.go.th/uploadFiles/news/N000000004232518.pdf


สาขาการผดุงครรภ์ไทย   มีผู้สอบผ่าน  287 คน

http://mrd.hss.moph.go.th/uploadFiles/news/N000000004232520.pdf


สาขาการนวดไทย  มีผู้สอบผ่าน 541 คน

http://mrd.hss.moph.go.th/uploadFiles/news/N000000004232521.pdf

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รพ.อภัยภูเบศรโชว์'ยานอน'ถอนพิษ

วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร โชว์ "ยานอน"ภูมิปัญญาชาวไทยใหญ่ นอนในเรือบ่มสมุนไพรห่อตัวด้วยใบไม้ 5 ชนิด ช่วยถอนพิษทั่วร่างกาย แก้ปวดหลังเรื้อรัง


            22ส.ค.2555 ในการแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ภายใต้แนวคิด "นวดไทย มริดกไทย สุ่มรดกโรค" ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-9 กันยายนนี้ ที่อิมแพค เมืองทองธานี มีการนำภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่จะมีการเผยแพร่ภายในมาจัดแสดง โดยวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ได้นำเสนอ "ยานอน"
น.ส.ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์ อาจารย์แพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร อธิบายว่า ยานอนจะช่วยขับพิษออกจากร่างกาย โดยชาวไทยใหญ่เชื่อว่าโรคต่างๆที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังในร่างกายว่าโรคที่เกิดจากพิษ มีทั้งพิษร้อนทำให้เกิดอาการปวดและพิษเย็นทำให้หนาว รวมถึง พิษที่เกิดบริเวณผิวหนัง ผดผื่น ภูมิแพ้ต่างๆ แมลงกัดต่อย และแพ้เหงื่อตัวเองเป็นต้น

             "ยานอนจะซึมเข้าสู่ผิวหนังไปช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยชะล้างความเป็นพิษ นอกจากนี้ ความร้อนจากสมุนไพรจะช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้พิษถูกขับออกมาทางเหงื่อ"น.ส.ชลาลัยกล่าว
             น.ส.ชลาลัย กล่าวอีกว่า การทำยานอนในสมัยอดีตจะทำในเรือ เนื่องจากไม้ที่นำมาทำเรือส่วนใหญ่เป็นไม้ขุด จากต้นตาล ต้นตะเคียน และต้นอบเชย เมื่อลงน้ำแล้วนำมาให้คนนอจะมีสรรพคุณในการดูดพิษ แต่สมัยปัจจุบันสามารถทำยานอนบนไม้กระดานหรืออ่างจากุชชี่ได้เช่นกัน โดยขั้นตอนเริ่มจากการนำใบพืชสมุนไพร 5 ชนิดมาปูรองให้คนนอน ได้แก่ ใบกล้วยน้ำหว้า มีฤทธิ์ฝาดเย็น ช่วยดูดพิษความร้อน ,ใบว่านสาวหลง หรือใบข่า ใบไคร ใบขิง ,ใบแหยง ฤทธิ์ช่วยการไหลเวียน ,ใบพลับพลึง อมความร้อนและใบอบเชย ขยายรูขุมขน จากนั้นตำสสมุนไรพราว 37 ชนิดแล้วนำมาวางตามแนวกระดูกสันหลังและบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น วางบริเวณหน้าท้องของผู้หญิงที่ปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนเป็นประจำ ในแต่ละครั้งจะใช้เวลา ครึ่งชั่วโมง- 1 ชั่วโมง

จาก  หนังสือพิมพ์  คมชัดลึก วันที่ 28-08-2555

ชาลดอยากอาหาร ทีเด็ดสมุนไพรไทย

ทึ่ง! สมุนไพรไทยปรุง "ชาไม่อยากข้าว" แก้โรคอ้วนปัญหาใหญ่ของประเทศ เผยได้สูตรลับมาจากหมอยาแห่งปราจีนบุรี มีส่วนประกอบคือหญ้าดอกขาว ที่สหรัฐจดสิทธิบัตรใช้ลดความอยากอาหาร กับหอมแขก ซึ่งญี่ปุ่นนำไปจดสิทธิบัตรเป็นตัวกรองบุหรี่ ชวนเที่ยวงานสมุนไพรไทยครั้งที่ 9 สาธิตการนวดแก้นิ้วล็อก
    ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 นวดไทย มรดกไทย สู่มรดกโลก ทางโรงพยาบาลจะนำสูตร “ชาไม่อยากข้าว” มาเผยแพร่ให้กับประชาชนรู้จัก เนื่องจากโรคอ้วนนับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดตามมา อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น สาเหตุสำคัญของโรคอ้วนก็คือ การบริโภคอาหารมากเกินไปนั่นเอง
    สูตรชาไม่อยากข้าว ดร.สุภาภรณ์กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลได้รับความรู้มาจากหมอส่วน สีมะพริก หมอยาจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งในตำรับชาประกอบด้วยสมุนไพร 2 ชนิด คือ หญ้าดอกขาว หรือหญ้าหมอน้อย และหอมแขก จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกามีการจดสิทธิบัตรสารสกัดจากหญ้าดอกขาวในการใช้เพื่อลดความอยากอาหาร โดยทำในรูปของยาพ่นเข้าทางจมูก ทางโรงพยาบาลก็จะเผยแพร่ทั้งในรูปชาชงและยาอบ เพราะในภูมิปัญญาดั้งเดิมมีการใช้ในรูปชาชง ส่วนการใช้ยาอบนั้นเป็นการสูดเอาไอเข้าทางจมูก ซึ่งให้ผลเหมือนกับยาพ่น
    ในส่วนของสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบคือ หอมแขก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Curry leaf ที่ปัจจุบันมีงานวิจัยในต่างประเทศมากมายถึงประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยย่อย จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับหมอยาพื้นบ้านในส่วนต่างๆ ของประเทศไทย มีการใช้หญ้าดอกขาวอดเหล้า อดบุหรี่ จนกระทั่งบริษัทในญี่ปุ่นจดสิทธิบัตรในการเป็นตัวกรองบุหรี่เพื่อลดการติดบุหรี่ ทั้งๆ ที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย
    ดร.สุภาภรณ์กล่าวว่า นอกจากช่วยอดเหล้า อดบุหรี่แล้ว ยังมีการใช้สมุนไพรดังกล่าวลดการอักเสบในโรคหลอดลม ปวดเมื่อย เบาหวาน จากประสบการณ์การใช้หญ้าดอกขาวอย่างยาวนาน หมอพื้นบ้านทุกคนต่างพูดตรงกันว่า กินยาหญ้าดอกขาวแล้วจะไม่อยากข้าว จึงไม่แปลกใจเลยว่ามีการนำความรู้นี้ไปจดสิทธิบัตร แต่รู้สึกสงสารประเทศไทยมากกว่า ทั้งๆ ที่ในอดีตเรามียาดีๆ อยู่เยอะ แต่ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไม่แพร่หลายมากนักในหมู่คนไทย แต่กลับตกไปอยู่ในมือต่างชาติ
    สำหรับผู้ที่สนใจอยากทดลองใช้ยาชง ยาอบไม่อยากข้าว ขอเชิญได้ที่งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 นวดไทย มรดกไทย สู่มรดกโลก วันที่ 5-9 กันยายน 2555 ที่อาคาร 7-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
    ทั้งนี้ การจัดงานสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า ปีนี้จะรวมหมอพื้นบ้าน 18 องค์กร 100 เครือข่ายทั่วประเทศ มาร่วมแสดงองค์ความรู้ภูมิปัญหาหมอพื้นบ้านที่สั่งสมมาตั้งแต่โบราณ ดังมีจารึกในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ถึงการรักษาด้วยยาสมุนไพรและการนวดแบบไทย และรัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันการใช้แพทย์แผนไทยมาใช้รักษาอาการปวดเมื่อย ลดการอักเสบ แทนยาปัจจุบันทุกชนิดที่ส่วนใหญ่เป็นยาจากต่างประเทศ ซึ่งไทยใช้แต่ละปีมีมูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาท
    ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 นี้ จะมีการสาธิตการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย เช่น การนวดรักษาโรคนิ้วล็อก ที่ปัจจุบันต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น แต่เรามีผลงานวิจัยยืนยันชัดเจนว่า การนวดแผนไทยช่วยรักษาโรคดังกล่าวได้ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดอบรมหลักสูตรแพทย์แผนไทยระยะสั้นประมาณ 40 หลักสูตรให้กับผู้สนใจเข้าร่วมงานด้วย
    นพ.สุพรรณกล่าวว่า จะมีประชุมเครือข่ายประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา จีน ลาว พม่า และเวียดนาม มาประชุมร่วมกันเป็นครั้งที่ 5 เพื่อยกระดับเครือข่ายหมอพื้นบ้านลุ่มน้ำโขง พร้อมจัดทำกรอบความร่วมมือและแผนการอนุรักษ์การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชาติพันธุ์ในลุ่มน้ำโขงร่วมกัน รับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558.


จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  28/8/2555

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 9 " การนวดไทย มรดกไทย สู่มรดกโลก " วันที่ 5-9 กันยายน 2555

สมุนไพรจีนช่วยผู้หญิงเผชิญหน้ามะเร็งอย่างกล้าหาญ

อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งของผู้หญิงทั่วโลกเป็นสถิติที่น่าตกใจ จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริการายงานไว้ว่า มะเร็งเต้านมมีอุบัติการณ์ 124.3 คนต่อผู้หญิง 100,000 คน  มะเร็งมดลูกและปากมดลูก 8.1 คนต่อผู้หญิง 100,000 คน มะเร็งรังไข่ 12.7 คนต่อผู้หญิง 100,000 คน เป็นต้น และสถิติเหล่านี้มีแต่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
   
ปัญหาระบบการรักษามะเร็งของผู้หญิงพื้นฐานส่วนใหญ่ หลังรักษาแล้วยังไม่มีวิธีควบคุมอย่างได้ผล มะเร็งมักจะกลับมาอีกเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง การตรวจวินิจฉัยมะเร็งบางชนิดช้าทำให้ตรวจเจอเมื่อมะเร็งแพร่กระจายแล้ว ทำให้อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยลดลง นอกจากนี้ การรักษาเช่นการผ่าตัดอวัยวะ อาทิ ตัดเต้านมออก ตัดมดลูกหรือรังไข่ออกหมด ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมากหลังรักษา แพทย์แผนหลักต้องเผชิญกับปัญหาที่ว่า จะเพิ่มการตอบสนองของการรักษาแผนหลักได้อย่างไร ลดการดื้อยาได้อย่างไร ลดผลข้างเคียงของการรักษาได้หรือไม่ จะปรับสมดุลภูมิคุ้มกันแก้ปัญหาความแข็งแรงของร่างกายได้หรือไม่

การแพทย์ทางเลือกรักษามะเร็งแบบแพทย์แผนจีนที่ใช้สมุนไพร และการรับประทานอาหารร่วมด้วย เชื่อว่ามะเร็งในผู้หญิงเกิดจาก ชี่พร่อง เลือดไหลเวียนติดขัด ความไม่ราบรื่นเหล่านี้ส่งผลให้อวัยวะภายในบกพร่องต่อหน้าที่ เกิดของเสียและพิษสะสมภายในร่างกาย สร้างความไม่สมดุลแก่หยิน-หยาง อีกทั้งชี่ คือ แรงผลักดันของเลือด เลือดคือวัตถุดิบพื้นฐานของประจำเดือนในผู้หญิง หากการทำงานของอวัยวะบกพร่อง การไหลเวียนของชี่และเลือดย่อมได้รับผลกระทบ เมื่อสะสมความผิดปกติเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในผู้หญิงได้

การต่อสู้มะเร็งในทางแพทย์จีน จึงเริ่มจากดูแลองค์รวมทั้งร่างกาย ล้างพิษตับปรับปรุงชี่ ซึ่งส่งผลดีต่อการไหลเวียนของเลือด การสลายเลือดคั่ง การขับร้อนขับพิษ เมื่อทั้งหมดได้รับการปรับก็ทำให้ ชี่ เลือด ได้รับการกระตุ้น อวัยวะภายในได้ทำงาน วิธีการ คือ ใช้ยาจีนเข้ามาช่วย พร้อมไปกับใช้หลักการรับประทานอาหารให้เป็นยาตามสภาพร่างกาย การดูแลทางด้านอารมณ์ จิตวิญญาณ จุดประสงค์เพื่อทำให้ชี่และเลือดไหลเวียนดีราบรื่น เพิ่มพลังที่ดีแก่ร่างกาย ส่งผลให้หยิน-หยางสมดุล
วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2555 ที่จะถึงนี้ ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงได้จัดบรรยายเรื่อง “ใส่ใจดูแลมะเร็งในผู้หญิงสไตล์แพทย์จีน” เผยเคล็ด (ไม่) ลับทุกเรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เพื่อการรักษามะเร็ง โดยวิทยากร แพทย์จีน มาลิน ปิยะชินวรรณ จากสมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย งานเริ่มตั้งแต่ 13.00-16.00 น. ที่ห้องประชุม 2-3 อาคารเฉลิมพระบารมี ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ซอยเพชรบุรีตัดใหม่ 47) กรุงเทพฯ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สามารถสำรองที่นั่งเข้าฟังบรรยายได้ที่ 0-2664-0079 หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.siamca.com.

เครดิต    หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  19/8/2555

จากยุ่นสู่ไทย ลับคมฝังเข็มคนตาบอด- เพื่อสุขภาวะเพื่อสังคมไทย

“อาชีพนวด” นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีผู้พิการทางสายตาจำนวนมากนำไปประกอบสัมมาหาเลี้ยงตน กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.และเครือข่ายสถาบันการอบรมหลักสูตรวิชาชีพการนวดไทยของผู้พิการทางสายตา 6 สถาบัน ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับ The Nippon Foundation The National Committee of Welfare for the Blind in Japan เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูผู้รับมอบตัวศิษย์ ครูหมอนวดไทยและวิทยากรให้มีความรู้และทักษะในการสอนนวดไทยสำหรับผู้พิการทางสายตาขึ้น
 
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า เป็นที่น่าภูมิใจว่าปี 2555 มีผู้พิการทางสายตาเข้ารับการสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไทย จำนวน 69 คน และสามารถสอบผ่านภาคทฤษฎีได้ จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 46.3% ของผู้พิการทางสายตาที่เข้าสอบ ซึ่งเปรียบเทียบกับคนสายตาปกติ สามารถสอบผ่านภาคทฤษฎีได้เพียง 30.15%
 
นอกจากนี้ในการอบรมยังได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรจากญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยสึคุบะ เป็นผู้พัฒนาทักษะการสอนกายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยาสำหรับคนตาบอด เพราะญี่ปุ่นนับได้ว่าใช้ศาสตร์ด้านการนวดและการฝังเข็มเป็นที่ขึ้นชื่อไปทั่วโลก
 
มิสเตอร์โยชิฮิโกะ ซาซากาวา ประธานคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้พิการทางสายตาในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่คร่ำหวอดและมีประสบการณ์การนวดมายาวนาน ได้เล่าให้ฟังว่า ในญี่ปุ่นการสอนนวดจะสอนพร้อมกับการฝังเข็มและการรมควัน โดยคุณวาอิชิ สุกิยามา ซึ่งเป็นหมอฝังเข็มตาบอดที่มีชื่อเสียงได้คิดค้นวิธีการฝังเข็มแบบใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคลินิกสำหรับการอบรมวิชาชีพสำหรับคนตาบอดโดยได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล และรัฐเองก็ให้การนวดและการฝังเข็มเป็นวิชาชีพที่สงวนไว้สำหรับผู้พิการทางสายตา
 
ที่ญี่ปุ่นการ นวดฝังเข็มได้รับการนิยมมากในโรงเรียนสอนคนตาบอด โดยมิสเตอร์โยชิฮิโกะ ปัจจุบันโรงเรียนสอนคนตาบอดมีประมาณ 70 กว่าแห่ง โดย 60 แห่งมีการสอนฝังเข็มสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งผู้เรียนก็เรียนคล้ายกับเมืองไทยที่เรียนชั้นประถม 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี หลังจบ ม.ปลายก็จะสอนเรื่องการฝังเข็มเป็นเวลา 3 ปี มีการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ โดยผู้ผ่านการสอบแล้วจะได้รับวุฒิบัติเพื่อการรักษาและทำการนวด หลังจากสอบผ่านแล้วก็สามารถเข้าทำงานกับโรงพยาบาล หรือคลินิกในการนวดเพื่อรักษาได้ รวมทั้งบ้านพักคนชรา ตลอดจนสามารถเปิดกิจการเป็นของตนเองด้วยก็ได้
 
“ผู้ที่มานวดฝังเข็มกับผมส่วนใหญ่กว่าครึ่งมาเพื่อรักษาอัมพาตครึ่งตัว เพราะการฝังเข็มเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตให้มีอาการดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการอัมพาต การฝึกกายภาพและการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งต้องพยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้สึกที่อยากจะเคลื่อนไหวเพื่อให้ข้อต่อทำงานดีขึ้น” มิสเตอร์โยชิฮิโกะ กล่าว
   
มิสเตอร์โยชิฮิโกะ บอกว่า การฝังเข็มและการนวดกดจุดนั้น จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ การกดจุดจะใช้ นิ้วโป้งเป็นหลักใหญ่ในการกด ส่วนการฝังเข็มนั้นจะใช้เข็มในการรักษา และความพิเศษเข็มของญี่ปุ่นคือมีขนาดที่เล็กมาก เวลาที่ฝังเข็มแล้วแทบจะไม่รู้สึกว่าถูกฝังเลย ส่วนเข็มของจีนจะมีขนาดใหญ่ เมื่อฝังแล้วจะมีความรู้สึกทันที การฝังเข็มของญี่ปุ่นนั้นสบายมากจนหลับไปเลยก็มี นอกจากนั้นการกดจุดต้องใช้แรงในการกด ซึ่งการฝังเข็มและการกดจุดนั้นจะผสมกันไม่ได้ ต้องเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาอาการ
      
ส่วนข้อสงสัยที่ว่าผู้พิการทางสายตาจะใช้หลักอย่างไรในการฝังเข็ม เพราะถือเป็นวิธีการที่ยากมากนั้น มิสเตอร์โยชิฮิโกะเล่าว่า การฝังเข็มของญี่ปุ่นจะมีท่อพิเศษเป็นตัวนำ เมื่อต้องการฝังในจุดใดก็จะมีท่อพิเศษนี้ค่อย ๆ ขยับไปตามกล้ามเนื้อที่ผู้รักษาได้ศึกษาไว้ อย่างไรก็ตามในส่วนประเทศไทย การรักษาโดยฝังเข็มโดยเฉพาะผู้พิการทางสายตานับเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมอีกมาก โดยมิสเตอร์โยชิฮิโกะบอกว่า เชื่อว่าเมืองไทยก็จะทำได้เช่นเดียวกับญี่ปุ่น
 
จุดเริ่มในการอบรมครั้งนี้ จึงนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่ไทยจะพัฒนาผู้พิการทางสายตาให้เป็นผู้รักษาโดยวิธีการฝังเข็มได้เช่นเดียวกับญี่ปุ่นให้สมกับที่ไทยเป็นหนึ่งในสี่ของประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายรองรับให้ผู้พิการทางสายตาสามารถสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการโรคศิลปะได้.

เครดิตข่าว    จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 19 สิงหาคม 2555

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เล็งพัฒนา รพ.-คลินิกให้เป็น One Stop service สำหรับต่างชาติ

 สธ.จัดยุทธศาสตร์ 5 ปี พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ พ.ศ.2555-2559 begin_of_the_skype_highlighting            2555-2559      end_of_the_skype_highlighting บริการ 4 สาขาหลัก ทั้งรักษาพยาบาล สปา แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เดินเครื่องพัฒนาโรงพยาบาล คลินิกทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ บริการครบสูตร ทั้งล่าม บริการต่อวีซ่า เผย ขณะนี้มีแล้ว 21 แห่ง จะอบรมเพิ่มในเดือนนี้อีก ขณะเดียวกัน ได้ขยายเวลาพำนักรักษาตัวให้ผู้ป่วยจาก 5 ประเทศกลุ่มอาหรับ พักในไทยได้ 90 วัน และต่ออายุได้ไม่เกิน 1 ปี
     
       นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชียและนานาชาติ หรือ เมดิคัล ฮับ (Medical Hub) เพื่อนำรายได้เข้าประเทศ แนวคิดหลักของนโยบายนี้ คือ เน้นในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพแบบนานาชาติ (Medical Hub and Wellness) พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการตลาด ดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาที่ได้เริ่มช่วงแรกมาตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ที่มี 3 บริการหลัก คือ 1.รักษาพยาบาล 2.การส่งเสริมสุขภาพ และ 3.ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทย ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย สร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจสุขภาพ และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด ในปี 2554 มีรายได้ประมาณ 97,874 ล้านบาท มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และรับบริการด้านสุขภาพเป็นจำนวนมากถึง 2.2 ล้านคน
 นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการพัฒนาช่วงที่ 2 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพของนานาชาติในปี 2555-2559 begin_of_the_skype_highlighting            2555-2559      end_of_the_skype_highlighting โดยให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดรูปแบบแนวทางการดำเนินงานของศูนย์บริการสุขภาพทั่วประเทศ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอีกด้านหนึ่งด้วย โดยมีเป้าหมายหลัก 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การรักษาพยาบาล เช่น ทันตกรรม การรักษาโรคเฉพาะทาง การพำนักระยะยาว 2.การส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา นวดเพื่อสุขภาพ 3.ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐาน จีเอซีพี (GACP) ขององค์การอนามัยโลก และ 4.การเพิ่มผลผลิตด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมให้จัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์ทางเลือกทุกภูมิภาค ให้โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนเปิดคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล ทั้งหมดนี้จะไม่ให้เกิดผลกระทบกับการบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย

       ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายเวลาพำนักของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย จากเดิม 30 วัน เป็น 90 วัน โดยไม่ต้องทำวีซ่า และสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้หลายครั้ง รวมกันแล้วไม่เกิน 1 ปี ในขั้นต้นอนุโลมให้ 5 ประเทศในกลุ่มอาหรับ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ รัฐกาตาร์ รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน และรัฐบาห์เรน ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป
     
       ขณะเดียวกัน จะพัฒนาโรงพยาบาลและคลินิกของไทยให้ได้มาตรฐาน ระดับนานาชาติ หรือมาตรฐาน เจซีไอเอ (JCIA: Joint Commission International on Accrediation) ซึ่งจะเป็นศูนย์บริการเฉพาะชาวต่างชาติที่เดียวเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop service Center) มีล่าม มีหอผู้ป่วย บริการต่ออายุวีซ่า หรือบริการตามหลักศาสนาทั้งอาหารและบุคลากร
     
       ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและคลินิกของไทย ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 21 แห่ง ซึ่งจะมีการจัดอบรมเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก รวมทั้งตรวจรับรองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทุกประเภทให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อก้าวสู่การรับรองคุณภาพในระดับสากล เตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนด้านสุขภาพของประชาคมอาเซียนในอนาคต ซึ่งจะทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเวทีโลกด้านบริการสุขภาพอย่างแท้จริง
     
       นายวิทยา กล่าวด้วยว่า แผนพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของนานาชาติในปี 2555-2559 ใช้งบประมาณในการดำเนินงานประมาณ 3,131 ล้านบาท และคาดว่า จะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศรวม 5 ปี ประมาณ 814,266 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี โดยด้านการรักษาพยาบาล คาดว่า จะสร้างรายได้ 672,236 ล้านบาท ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 85,669 ล้านบาท ด้านแพทย์แผนไทยฯ 3,868 ล้านบาท ด้านสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 52,493 ล้านบาท

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์3 สิงหาคม 2555 14:15 น.

รายชื่อสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์

http://mrd.hss.moph.go.th/uploadFiles/news/N000000002361556.pdf

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พบสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร

วท. จับมือ ม.ขอนแก่น ใช้แสงซินโครตรอนตรวจพืชสมุนไพร พบกิ่งสนสามใบ และติ้วขน มีสารต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)  พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และ ทีมงานวิจัยได้ ร่วมกันบรรยายผลงานวิจัย “ซินโครตรอนกับการศึกษาสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร”  เพื่อพัฒนายาต้านมะเร็งโดยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย
ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นโครงการบูรณาการเพื่อสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น  รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจากสารสกัดพืชสมุนไพรไทย โดยต่อยอดมาจากงานวิจัยผลสำรวจพืชพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ซึ่งมาจากกลุ่มผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนในปี 2554 และ เป็นการศึกษามะเร็งอย่างต่อเนื่อง
ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวในเรื่องของการนำสารสกัดจากพืชสมุนไพร ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จากการศึกษาพืชสมุนไพรหลายชนิด พบว่า สารสกัดจากกิ่งของพืช 2 ชนิด คือ ติ้วขน และ สนสามใบ มีสารออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีศักยภาพทำให้เซลล์มะเร็งค่อยๆ สลายตัวจากการทำลายตัวเอง และ มีเพียงเซลล์มะเร็งเท่านั้นที่ตาย ผู้ป่วยจะไม่ได้รับผลเคียงข้างจากการใช้ยานี้
“แม้ในปัจจุบัน การรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา โดยเฉพาะเมื่อเซลล์มะเร็งดื้อยา ทำให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดไม่ประสบความสำเร็จ หากการพัฒนาเพื่อใช้สารจากกิ่งของติ้วขน และ สนสามใบ ใช้ประกอบกับยาเคมีบำบัดจะช่วยในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา กล่าว
ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า การตรวจหากลไกของการออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด ใช้เทคนิคจุลทรรศน์อินฟราเรด (FTIR microspectroscopy) จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดนี้ ทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายตัวเอง นอกจากนั้นปริมาณของ ไขมัน โปรตีน และกรดนิวคลีอิกจะ มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่แตกต่างจากกลไกการออกฤทธิ์ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีต่อการใช้ยาเคมีมาตรฐานชนิดเมลฟาแลน
งานวิจัยครั้งนี้ได้นำเทคนิคการวิเคราะห์แบบใหม่มาใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิต โดยการใช้เทคนิคจุลทรรศน์ อินฟราเรด สามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลระดับเซลล์ อีกทั้งไม่ต้องใช้สารเคมีในขั้นตอนการเตรียมตัว และยังใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์สั้น ซึ่งแตกต่างกับการวิเคราะห์ทางชีวเคมีทั่วไป  ทำให้นักวิจัยได้ข้อมูลทางวิชาการในรูปแบบใหม่ และมีผลในการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น
การนำแสงซินโครตรอนศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของพืชสมุนไพรในเชิงลึก จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเริ่มต้นพัฒนาสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ปลอดจากภัยของโรคมะเร็ง

เครคิตข่าวจาก http://www.posttoday.com/
20 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:12 น.

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

5 สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน

ที่มีอยู่ในบ้านเรามานำเสนอ ซึ่งขอบอกเลยว่า จะช่วยขับประจำเดือนให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้นได้อีกเยอะ
1. กระบือเจ็ดตัว
Excoecaria cochinchinensis Lour.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น กะเบือ กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ
ลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีแดง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพียง 2-3 ดอก
ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ-ใช้ใบตำกับเหล้าคั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด และน้ำคาวปลาหลังคลอด การทดลองในสัตว์ พบว่าสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก
2. เจตมูลเพลิงขาว
White-colored Leadwort
Plumbago zeylanica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวขาว
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง หรือพาดพันบนต้นไม้อื่นๆ สูง 1-2 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-9 ซม. สีเขียวแกมเหลือง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้สีม่วงน้ำเงิน กลีบเลี้ยงมีต่อมน้ำหวานติดมือ
ผลแห้ง รูปขอบขนาน แตกได้เป็น 5 ปาก มีร่องตามยาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ลำต้น, ราก-มีรสร้อน ใช้แทนรากเจตมูลเพลิงแดงได้ มีสรรพคุณขับประจำเดือน ขับลมในกระเพาะ และลำไส้ ขับประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร เข้ายาบำรุงธาติ บำรุงโลหิต สารสกัดจากรากมีฤทธิ์บีบมดลูก และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย และเชื้อรา สาร plumbagin ที่แยกได้จากรากมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ลดไขมันในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
3. เจตมูลเพลิงแดง
Rose-colored Leadwort
Plumbago indica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวแดง ไฟใต้ดิน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากแห้ง-ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัว ของมดลูก และลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้
4. ยอ
Indian Mulberry
Morinda citrifolia Linn.
RUBIACEAE
ชื่ออื่น มะตาเสือ ยอบ้าน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 2-6 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว
ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผล-ตำรายาของเวียดนาม ระบุว่า ผลเป็นยาขับเลือดต่างๆ ขับประจำเดือนด้วย ยาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไปอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside
5. ว่านชักมดลูก
Curcuma xanthorrhiza Roxb.
ZINGIBERACEAE
ยรูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก กว้าง 15-20 ซม. ยาว 40-90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ
ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า-ใช้เหง้ารักษาอาการประจำเดือนมาผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร
ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

" คำฝอย " ยาลดไขมันในเส้นเลือด


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Carthamus tinctorius  L.
ชื่อสามัญ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ Compositae
ชื่ออื่น : คำ  คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)  คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก
สรรพคุณ :
  • ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
    - บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
    - โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
    - ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
  • เกสร
    - บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
  • เมล็ด
    - เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
    - ขับโลหิตประจำเดือน
    - ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
  • น้ำมันจากเมล็ด
    - ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
  • ดอกแก่
    - ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
         
ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
สารเคมี
          ดอก 
พบ
Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
         เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
คุณค่าด้านอาหาร
         ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
         ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
         ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร
safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง



ข้อมูลจาก

บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พสกนิกรปลาบปลื้มได้เห็น "พระหัตถ์ในหลวง"ชาวเน็ตร่วมแชร์ภาพประทับใจ




พสกนิกรปลาบปลื้มได้เห็นพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จฯทางชลมารคทรงเปิด 5 โครงการของกรมชลประทาน


ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯลงมาจากชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปยังท่าเทียบเรือหน้ากรมชลประทาน เพื่อทรงเปิดโครงการของกรมชลประทาน จำนวน 5 โครงการ ทางชลมารค

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระหัตถ์บนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการฯ เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น นอกจากพสกนิกรทั่วไปจะได้ชมการถ่ายทอดสดการเสด็จดังกล่าวแล้ว  ยังได้เห็นภาพพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงวางบนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการฯ สร้างความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภาพดังกล่าวได้ถูกนำไปแชร์และส่งต่อเผยแพร่อย่างล้นหลาม


ภาพและข่าว จาก
updated: 08 ก.ค. 2555 เวลา 19:58:21 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ย้ำผลวิเคราะห์ หญ้าหยาดน้ำค้างไม่มีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง

สำนักข่าวไทย 1 ก.ค.-นพ.สุพรรณ  ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า  หญ้าหยาดน้ำค้าง เป็นข่าวที่ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ว่าต้มกินรักษาโรคได้เกือบทุกชนิด เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคที่รักษาไม่หาย รวมทั้งโรคปวดเข่า ข้อกระดูก และอ้างว่าเป็นยาผีบอกนั้น  เคยเป็นข่าวมาแล้วที่จังหวัดกำแพงเพชร   เมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2555  โดยนายวิทยา  บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระะทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เก็บตัวอย่างหญ้าดังกล่าวมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผลการตรวจพบว่า หญ้าดังกล่าว เป็นหญ้ากาบหอยตัวเมีย มีชื่อทางพฤษศาสตร์รู้จักกันทั่วโลกว่า ลินเดอเนีย ครัสตาซี  (Lindernia crustacea (L.) F. Muell. var. crustacea ) ในไทยเรียกชื่อหญ้าชนิดนี้แตกต่างกัน  เช่น กรุงเทพฯเรียกตะขาบไต่ดิน  นราธิวาสเรียกว่าหญ้ามันลิง  หรือเรียกหญ้าหยาดน้ำค้าง   จากรายงานการใช้ประโยชน์จากหญ้าชนิดนี้ทั้งในไทยและต่างประเทศ  ยังไม่มีงานวิจัยว่ามีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง  โรคปวดเข่าหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ แต่อย่างใด  ในไทยพบเพียงมีการนำใบอ่อนใช้กินเป็นผักแกล้ม   หมอพื้นบ้านในภาคอีสาน ใช้ลำต้นเป็นยารักษากามโรค  ใช้ใบปรุงเป็นยาต้มดื่มหลังคลอด  ส่วนในต่างประเทศ พบในอินเดีย มีการนำหญ้ากาบหอยตัวเมีย มาตากแห้ง บดเป็นผงและละลายน้ำ ดื่มในตอนเช้าเพื่อล้างท้อง ใช้ใบเคี้ยวกับน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มการหลั่งของน้ำดี และใช้เป็นยาทาภายนอก รักษาโรคกลากเกลื้อน  แผลน้ำร้อนลวก  โรคผิวหนัง เพื่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย  และมีรายงานที่มาเลเซีย ใช้ทั้งลำต้น ใส่แผลไฟไหม้  น้ำร้อนลวก แผลอักเสบ โดยเฉพาะแผลที่โดนเห็บป่ากัด  และใช้ในสตรีหลังคลอด

จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวลือ  หรือยาผีบอก ที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการรักษาในตำราของหมอ  หญ้ากาบหอยตัวเมีย   พบขึ้นได้ทั่วไปบริเวณริมถนน  นาข้าว ริมน้ำ ในไทยพบทุกภาค.- สำนักข่าวไทย

ที่มา  สำนักข่าวไทย

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายชื่อสถาบันการศึกษาแพทย์แผนไทยที่ได้รับการรับรองหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต


ท่านสามารถ Click link เพื่อดูรายชื่อสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต  มีทั้งหมด 13 แห่ง

มีที่ กรุงเทพ 2 สถาบัน  นนทบุรี 1 สถาบัน  ปทุมธานี 1 สถาบัน นอกนั้นอยู่ต่างจังหวัด 
   
http://www.mrd.go.th/Admin/fileinformation/161.pdf

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะระขี้นก




การเผยแพร่บทความนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์  แต่เป็นการเผยแพร่คุณสมบัติของสมุนไพรไทย 

บทความมะระขี้นก

โดย   รองศาสตราจารย์  ดร.วีณา จิรัจฉริยากุล
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย   คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=90
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0090.pdf