วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายชื่อสถาบันการศึกษาแพทย์แผนไทยที่ได้รับการรับรองหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต


ท่านสามารถ Click link เพื่อดูรายชื่อสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต  มีทั้งหมด 13 แห่ง

มีที่ กรุงเทพ 2 สถาบัน  นนทบุรี 1 สถาบัน  ปทุมธานี 1 สถาบัน นอกนั้นอยู่ต่างจังหวัด 
   
http://www.mrd.go.th/Admin/fileinformation/161.pdf

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะระขี้นก




การเผยแพร่บทความนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์  แต่เป็นการเผยแพร่คุณสมบัติของสมุนไพรไทย 

บทความมะระขี้นก

โดย   รองศาสตราจารย์  ดร.วีณา จิรัจฉริยากุล
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย   คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=90
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0090.pdf

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คัมภีร์ใบลานถูกชั่งกิโลขายต่างชาติ-หวั่นตำรับยาไทยสูญหาย

เผย คัมภีร์ใบลานโบราณ ถูกชั่งกิโลกรัมขายต่างชาติ หวั่นตำรับยาไทยสูญหาย-ถูกขโมยภูมิปัญญา วอนเก็บรักษาเองไม่ได้นำมอบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
      
       นางกัญจนา ดีวิเศษ ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ได้รับทราบข้อมูลจากหมอพื้นบ้านในพื้นที่ จ.พะเยา ว่า มีการนำคัมภีร์ใบลานโบราณ โดยเฉพาะที่บันทึกตำรับยา หรือตำราการแพทย์แผนไทย ชาวบ้านที่ครอบครองได้จำหน่ายให้กับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาขอซื้อในลักษณะของการชั่งกิโลกรัมขาย ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้มีมานาน แต่ไม่คิดว่าปัจจุบันยังมีการกระทำเช่นนี้อยู่ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่บางคนเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ ก็ปรากฏเหตุการณ์คล้ายคลึงกัน โดยชาวบ้านนำบันทึกใบลานโบราณมาตากขายเป็นใบๆ
      
       “เท่าที่ทราบคัมภีร์ใบลานโบราณ ที่ต่างชาติซื้อส่วนใหญ่จะเป็นฉบับที่คาดว่ามีการบันทึกตำรับยาโบราณไว้ โดยซื้อไปแล้วจ้างผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณอ่านและแปลอีกครั้งหนึ่ง จึงเกรงว่าการทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะต้องสูญเสียวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่าแล้ว ยังต้องถูกขโมยสูตรยาโบราณแล้วนำไปศึกษาต่อยอดผลิตยาราคาแพงกลับมาขายคนไทยด้วย เช่น พบว่าตำรับยาหลายๆ ฉบับมีบันทึกตรงกัน ว่า บอระเพ็ดเป็นส่วนประกอบหลักในยาแก้ไข้ แสดงว่า บอระเพ็ดน่าจะมีคุณสมบัติพิเศษในเรื่องการลดไข้ อาจมีการนำไปศึกษาวิจัยต่อและผลิตยาออกมาขายก็เป็นได้” นางกัญจนา กล่าว

นางกัญจนา กล่าวอีกว่า เหตุที่ทำตำรับยาโบราณสูญหายไม่เพียงแต่มัการขายบันทึกโบราณให้ชาวต่างชาติเท่านั้น แต่ยังมีเหตุผลอื่นด้วย คือ 1.ลูกหลานอ่านภาษาโบราณที่บันทึกไว้ในเอกสารโบราณไม่ออก จึงขายให้คนอื่น เพราะไม่มีเหตุผลที่จะเก็บไว้ต่อไป 2.นำบันทึกโบราณใส่ไปในโลงศพของปู่ย่าตายาย หรือบรรพบุรุษเมื่อเสียชีวิต เนื่องจากเห็นว่าเป็นของที่ผู้ตายรักมาก 3.มีความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง จึงนำของโบราณไปทำเป็นผงเพื่อใช้เป็นมวลสารการทำพระเครื่องหรือเครื่องรางอื่นๆ และ 4.เก็บไว้ที่บ้านโดยไม่ได้ดูแลเท่าที่ควร ทำให้มอดกัดกินจนเสียหาย
      
       ผอ.สำนักคุ้มครองฯ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา กรมได้ดำเนินการสนับสนุนการอบรมอาสาสมัครในการช่วยค้นหาบันทึกตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยโบราณที่อาจจะมีอยู่ในชุมชน โดยเสริมความรู้เกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาเอกสารโบราณที่ถูกต้อง และให้สามารถอ่านภาษาโบราณได้ด้วย ร่วมกันรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการแพทย์แผนไทย ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายในการร่วมกันคุ้มครองภูมิปัญญาชาติให้สืบต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากผู้ใดมีบันทึกโบราณ และไม่ทราบจะเก็บรักษาอย่างไรไม่ให้เสียหาย หรือต้องการมอบให้เป็นสมบัติชาติ สามารถติดต่อมายังสำนักงานคุ้มครองฯที่เบอร์โทรศัพท์ 02-149-5608 begin_of_the_skype_highlighting            02-149-5608      end_of_the_skype_highlighting กรมจะนำมาเก็บรักษาและนำสูตรยาดีๆ เผยแพร่ให้เป็นประโยชน์กับคนไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์5 มิถุนายน 2555 08:13 น.