วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พบสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร

วท. จับมือ ม.ขอนแก่น ใช้แสงซินโครตรอนตรวจพืชสมุนไพร พบกิ่งสนสามใบ และติ้วขน มีสารต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)  พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และ ทีมงานวิจัยได้ ร่วมกันบรรยายผลงานวิจัย “ซินโครตรอนกับการศึกษาสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร”  เพื่อพัฒนายาต้านมะเร็งโดยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย
ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นโครงการบูรณาการเพื่อสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น  รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจากสารสกัดพืชสมุนไพรไทย โดยต่อยอดมาจากงานวิจัยผลสำรวจพืชพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ซึ่งมาจากกลุ่มผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนในปี 2554 และ เป็นการศึกษามะเร็งอย่างต่อเนื่อง
ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวในเรื่องของการนำสารสกัดจากพืชสมุนไพร ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จากการศึกษาพืชสมุนไพรหลายชนิด พบว่า สารสกัดจากกิ่งของพืช 2 ชนิด คือ ติ้วขน และ สนสามใบ มีสารออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีศักยภาพทำให้เซลล์มะเร็งค่อยๆ สลายตัวจากการทำลายตัวเอง และ มีเพียงเซลล์มะเร็งเท่านั้นที่ตาย ผู้ป่วยจะไม่ได้รับผลเคียงข้างจากการใช้ยานี้
“แม้ในปัจจุบัน การรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา โดยเฉพาะเมื่อเซลล์มะเร็งดื้อยา ทำให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดไม่ประสบความสำเร็จ หากการพัฒนาเพื่อใช้สารจากกิ่งของติ้วขน และ สนสามใบ ใช้ประกอบกับยาเคมีบำบัดจะช่วยในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา กล่าว
ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า การตรวจหากลไกของการออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด ใช้เทคนิคจุลทรรศน์อินฟราเรด (FTIR microspectroscopy) จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดนี้ ทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายตัวเอง นอกจากนั้นปริมาณของ ไขมัน โปรตีน และกรดนิวคลีอิกจะ มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่แตกต่างจากกลไกการออกฤทธิ์ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีต่อการใช้ยาเคมีมาตรฐานชนิดเมลฟาแลน
งานวิจัยครั้งนี้ได้นำเทคนิคการวิเคราะห์แบบใหม่มาใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิต โดยการใช้เทคนิคจุลทรรศน์ อินฟราเรด สามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลระดับเซลล์ อีกทั้งไม่ต้องใช้สารเคมีในขั้นตอนการเตรียมตัว และยังใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์สั้น ซึ่งแตกต่างกับการวิเคราะห์ทางชีวเคมีทั่วไป  ทำให้นักวิจัยได้ข้อมูลทางวิชาการในรูปแบบใหม่ และมีผลในการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น
การนำแสงซินโครตรอนศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของพืชสมุนไพรในเชิงลึก จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเริ่มต้นพัฒนาสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ปลอดจากภัยของโรคมะเร็ง

เครคิตข่าวจาก http://www.posttoday.com/
20 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:12 น.

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

5 สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน

ที่มีอยู่ในบ้านเรามานำเสนอ ซึ่งขอบอกเลยว่า จะช่วยขับประจำเดือนให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้นได้อีกเยอะ
1. กระบือเจ็ดตัว
Excoecaria cochinchinensis Lour.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น กะเบือ กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ
ลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีแดง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพียง 2-3 ดอก
ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ-ใช้ใบตำกับเหล้าคั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด และน้ำคาวปลาหลังคลอด การทดลองในสัตว์ พบว่าสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก
2. เจตมูลเพลิงขาว
White-colored Leadwort
Plumbago zeylanica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวขาว
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง หรือพาดพันบนต้นไม้อื่นๆ สูง 1-2 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-9 ซม. สีเขียวแกมเหลือง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้สีม่วงน้ำเงิน กลีบเลี้ยงมีต่อมน้ำหวานติดมือ
ผลแห้ง รูปขอบขนาน แตกได้เป็น 5 ปาก มีร่องตามยาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ลำต้น, ราก-มีรสร้อน ใช้แทนรากเจตมูลเพลิงแดงได้ มีสรรพคุณขับประจำเดือน ขับลมในกระเพาะ และลำไส้ ขับประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร เข้ายาบำรุงธาติ บำรุงโลหิต สารสกัดจากรากมีฤทธิ์บีบมดลูก และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย และเชื้อรา สาร plumbagin ที่แยกได้จากรากมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ลดไขมันในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
3. เจตมูลเพลิงแดง
Rose-colored Leadwort
Plumbago indica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวแดง ไฟใต้ดิน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากแห้ง-ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัว ของมดลูก และลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้
4. ยอ
Indian Mulberry
Morinda citrifolia Linn.
RUBIACEAE
ชื่ออื่น มะตาเสือ ยอบ้าน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 2-6 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว
ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผล-ตำรายาของเวียดนาม ระบุว่า ผลเป็นยาขับเลือดต่างๆ ขับประจำเดือนด้วย ยาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไปอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside
5. ว่านชักมดลูก
Curcuma xanthorrhiza Roxb.
ZINGIBERACEAE
ยรูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก กว้าง 15-20 ซม. ยาว 40-90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ
ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า-ใช้เหง้ารักษาอาการประจำเดือนมาผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร
ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

" คำฝอย " ยาลดไขมันในเส้นเลือด


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Carthamus tinctorius  L.
ชื่อสามัญ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ Compositae
ชื่ออื่น : คำ  คำฝอย ดอกคำ (เหนือ)  คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก
สรรพคุณ :
  • ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
    - บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
    - โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
    - ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
  • เกสร
    - บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
  • เมล็ด
    - เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
    - ขับโลหิตประจำเดือน
    - ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
  • น้ำมันจากเมล็ด
    - ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
  • ดอกแก่
    - ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
         
ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
สารเคมี
          ดอก 
พบ
Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
         เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
คุณค่าด้านอาหาร
         ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
         ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
         ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร
safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง



ข้อมูลจาก

บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พสกนิกรปลาบปลื้มได้เห็น "พระหัตถ์ในหลวง"ชาวเน็ตร่วมแชร์ภาพประทับใจ




พสกนิกรปลาบปลื้มได้เห็นพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จฯทางชลมารคทรงเปิด 5 โครงการของกรมชลประทาน


ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯลงมาจากชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปยังท่าเทียบเรือหน้ากรมชลประทาน เพื่อทรงเปิดโครงการของกรมชลประทาน จำนวน 5 โครงการ ทางชลมารค

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระหัตถ์บนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการฯ เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น นอกจากพสกนิกรทั่วไปจะได้ชมการถ่ายทอดสดการเสด็จดังกล่าวแล้ว  ยังได้เห็นภาพพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงวางบนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการฯ สร้างความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภาพดังกล่าวได้ถูกนำไปแชร์และส่งต่อเผยแพร่อย่างล้นหลาม


ภาพและข่าว จาก
updated: 08 ก.ค. 2555 เวลา 19:58:21 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ย้ำผลวิเคราะห์ หญ้าหยาดน้ำค้างไม่มีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง

สำนักข่าวไทย 1 ก.ค.-นพ.สุพรรณ  ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า  หญ้าหยาดน้ำค้าง เป็นข่าวที่ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ว่าต้มกินรักษาโรคได้เกือบทุกชนิด เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคที่รักษาไม่หาย รวมทั้งโรคปวดเข่า ข้อกระดูก และอ้างว่าเป็นยาผีบอกนั้น  เคยเป็นข่าวมาแล้วที่จังหวัดกำแพงเพชร   เมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2555  โดยนายวิทยา  บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระะทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เก็บตัวอย่างหญ้าดังกล่าวมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผลการตรวจพบว่า หญ้าดังกล่าว เป็นหญ้ากาบหอยตัวเมีย มีชื่อทางพฤษศาสตร์รู้จักกันทั่วโลกว่า ลินเดอเนีย ครัสตาซี  (Lindernia crustacea (L.) F. Muell. var. crustacea ) ในไทยเรียกชื่อหญ้าชนิดนี้แตกต่างกัน  เช่น กรุงเทพฯเรียกตะขาบไต่ดิน  นราธิวาสเรียกว่าหญ้ามันลิง  หรือเรียกหญ้าหยาดน้ำค้าง   จากรายงานการใช้ประโยชน์จากหญ้าชนิดนี้ทั้งในไทยและต่างประเทศ  ยังไม่มีงานวิจัยว่ามีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง  โรคปวดเข่าหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ แต่อย่างใด  ในไทยพบเพียงมีการนำใบอ่อนใช้กินเป็นผักแกล้ม   หมอพื้นบ้านในภาคอีสาน ใช้ลำต้นเป็นยารักษากามโรค  ใช้ใบปรุงเป็นยาต้มดื่มหลังคลอด  ส่วนในต่างประเทศ พบในอินเดีย มีการนำหญ้ากาบหอยตัวเมีย มาตากแห้ง บดเป็นผงและละลายน้ำ ดื่มในตอนเช้าเพื่อล้างท้อง ใช้ใบเคี้ยวกับน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มการหลั่งของน้ำดี และใช้เป็นยาทาภายนอก รักษาโรคกลากเกลื้อน  แผลน้ำร้อนลวก  โรคผิวหนัง เพื่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย  และมีรายงานที่มาเลเซีย ใช้ทั้งลำต้น ใส่แผลไฟไหม้  น้ำร้อนลวก แผลอักเสบ โดยเฉพาะแผลที่โดนเห็บป่ากัด  และใช้ในสตรีหลังคลอด

จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวลือ  หรือยาผีบอก ที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการรักษาในตำราของหมอ  หญ้ากาบหอยตัวเมีย   พบขึ้นได้ทั่วไปบริเวณริมถนน  นาข้าว ริมน้ำ ในไทยพบทุกภาค.- สำนักข่าวไทย

ที่มา  สำนักข่าวไทย