เครดิตภาพจาก
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ประวัติพ่อปู่ ชีวกโกมารภัจ
ชีวกโกมารภัจ เป็นลูกของนางสาลวดี ซึ่งเป็นหญิงโสเภณีในเมืองราชคฤห์ธรรมดา หญิงโสเภณีจะไม่เลี้ยงลูกชาย เพราะช่วยสืบสายอาชีพไม่ได้ ดังนั้นเมื่อนางคลอดลูกออกมา แล้วรู้ว่าเป็นเพศชาย จึงให้สาวใช้นำลูกชายใส่กระด้งไปวางไว้ที่กองขยะ
จากกองขยะมาเป็นลูกเจ้า บ่ายวันนั้น อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จประพาสพระนคร ผ่านมาทางนั้น เห็นฝูงนกการุมล้อมเด็กทารกอยู่ ตรัสสั่งให้นายสารถีไปดูว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่ หรือเปล่า เมื่อนายสารถีกลับมากราบทูลว่ายังมีชีวิตอยู่จึงรับสั่งให้อุ้มมาแล้วนำเข้าไปมอบให้ นางนมเลี้ยงดูเป็นอย่างดีภายในประราชนิเวศแล้วตั้งชื่อให้ว่า “ชีวก” ซึ่งมาจากคำว่า “ชีวิต” คือรอดชีวิตมาได้ เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ประทานนามเพิ่มเติมว่า “โกมารภัจ” ซึ่งหมายถึง เป็นบุตรบุญธรรมของพระราชกุมาร ทรงชุบเลี้ยงดูโอรสแท้ ๆ ของพระองค์ แม้ พระเจ้าพิมพิสารก็โปรดปรานประดุจหลานของพระองค์ และประชาชนทั่วไปก็เข้าใจว่าเป็น โอรสที่แท้จริง ของอภัยราชกุมาร หนีจากวังหาสำนักศึกษา เมื่อชีวกโกมารภัจ เจริญเติบโตเข้าสู่วัยเรียน และทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า จึงต้องการ ที่จะศึกษาวิชาความรู้เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต อาชีพที่เขาชอบคือหมอรักษาโรคเพื่อช่วย เหลือชีวิตมนุษย์ ดังนั้น เขาได้หนีออกจากวังเดินทางไปกับกองเกวียนพ่อค้า จนถึงเมืองตัก สิลา แล้วให้พ่อค้าที่เขาอาศัยมานั้นช่วยพาไปฝากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ คือ พระฤาษีโรคามฤกษตริณณา ผู้เป็นเจ้าสำนัก ชีวกได้มอบหมายถวายตัวเป็นศิษย์รับใช้ ทำงาน ทุกอย่างในสำนักอาจารย์เพื่อแลกกับวิชาความรู้เพราะตนไม่มีทรัพย์สินเป็นค่าเรียน เขาศึกษา อย่างตั้งอกตั้งใจ ทำให้เรียนได้เร็วกว่าศิษย์คนอื่น ๆ และสำเร็จจบหลักสูตรใน ๗ ปี ซึ่งปกติคน อื่น จะเรียนถึง ๑๖ ปี แม้จบหลักสูตรแล้ว ก็ยังมีความสงสัยในความรู้ของตนเองว่าอาจจะไม่ สมบูรณ์ จึงเข้าไปปรึกษาอาจารย์ ซึ่งอาจารย์ได้สั่งให้เขาออกไปหาต้นไม้ใบหญ้าหรือพืชชนิด ใดชนิดหนึ่งก็ได้ ที่เห็นว่าใช้ทำยาไม่ได้มาให้อาจารย์ เขาได้ใช้เวลาหลายวันเข้าไปในป่ารอบ ๆ เมืองตักสิลา ค้นหาจนทั่วก็ไม่พบใบหญ้าหรือพืชสักชนิดเดียวที่ใช้ทำยาไม่ได้ จึงรู้สึกผิดหวัง กลัวอาจารย์จะตำหนิแต่พอแจ้งแก่อาจารย์แล้ว อาจารย์กลับยิ้มอย่างพอใจและกล่าวว่า “เธอ เรียนจบแล้ว ออกไปประกอบอาชีพรักษาคนไข้ได้แล้ว”
ชีวกโกมารภัจได้เรียนวิชาแพทย์พิเศษ ชีวกโกมารภัจ เป็นศิษย์ที่มีอัธยาศัยดี มีความเคารพนับถือเชื่อฟังอยู่ในโอวาทของ อาจารย์ มีความกตัญญูกตเวที มีศีลธรรม และอัธยาศัยความสุขุมละเอียดเยือกเย็น สุภาพเรียบ ร้อยไม่พลาดพลั้ง อีกทั้งเชาว์ปัญญาก็ดีเยี่ยมจึงเป็นที่รักของอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงเมตตาสอน วิชาแพทย์พิเศษให้อีกแขนงหนึ่ง ซึ่งอาจารย์จะไม่ค่อยสอนให้แก่ใคร ๆ คือ วิชาประสมยา ปรุง ยาขนานเอก พร้อมทั้งวิธีการรักษาโรคให้ด้วย ยาขนานนี้พิเศษจริง ๆ สามารถรักษาโรคได้ทุก ชนิด และวางยาครั้งเดียวไม่ต้องซ้ำ ยกเว้นโรคที่เกิดจากผลกรรมรักษาไม่ได้ เมื่อศึกษาจบครบ วิชาการที่อาจารย์ประสิทธิ์ประสาทให้แล้วได้ลาอาจารย์กลับสู่บ้านเมืองของตน
คนไข้คนแรกของชีวกโกมารภัจจ์ หมอชีวกโกมารภัจจ์ ออกเดินทางจากเมืองตักสิลามุ่งสู่กรุงราชคฤห์พักผ่อนรอนแรม ในระหว่างทางเสบียงที่อาจารย์มอบหมายก็ใกล้หมด จึงเที่ยวหารักษาใช้พอดีภริยาเศรษฐีใน เมืองสาเกตเป็นโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลาประมาณ ๗ ปี พยายามรักษาสิ้นทรัพย์จำนวนมากก็ ไม่หาย หมดอาลัยในชีวิตจึงปล่อยไปตามกรรม
. เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ ทราบจึงเข้าไปอาสารักษาให้ ทั้งคนไข้และเศรษฐีเห็นหมอยัง หนุ่มอยู่ไม่เชื่อความสามารถ จึงบอกปัดไม่ยอมให้รักษา เพราะเกรงว่าจะเสียค่ารักษาเปล่า ๆ ไม่ได้ประโยชน์ แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์บอกจะรักษาให้ก่อน เมื่อหายแล้ว จึงจะรับค่ารักษา ดัง นั้นเศรษฐีและภริยาจึงตอบตกลงยอมให้รักษา หมอชีวกโกมารภัจจ์ ประกอบยาให้นัตถุ์เข้าทาง จมูก ฤทธิ์ยาทำให้คนไข้อาเจียนออกมาทางปาก หลังจากนั้นโรคของนางก็หายเป็นปกติ เขาได้ รับค่ารักษาและรางวัลมาถึง ๑๖๐๐๐ กหาปณะ แล้วเดินทางต่อไปจนถึงกรุงราชคฤห์
เมื่อถึงแล้วหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้เข้าเฝ้าพระบิดาอภัยราชกุมาร กราบทูลขออภัยโทษ ที่หนีไปโดยมิได้ทูลลา ทูลเล่าเรื่องการศึกษาวิชาแพทย์ตั้งแต่ต้นจนจบ ตลอดจนการเดินทาง กลับแล้วได้ถวายเงินรางวัลที่ได้รับระหว่างทางแก่พระบิดา พระอภัยราชกุมารทรงปลาบปลื้มพระทัย คืนทรัพย์สินที่ถวายให้กลับคืนเพื่อเป็นทุนใช้สอย ประวัติการรักษาโรคครั้งสำคัญ เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ เดินทางถึง กรุงราชคฤห์แล้ว ได้รับรักษาโรคต่าง ๆ จนมีชื่อ เสียงปรากฏเลื่องลือทั่วทั้งกรุงราชคฤห์และแคว้นอื่น ๆ การรักษาโรครั้งสำคัญของหมอชีวก ก็ คือ
๑. รักษาโรคริดสีดวงทวารให้พระเจ้าพิมพิสารจนหายสนิท ทำให้พระองค์สบาย พระวรกายขึ้นได้พระราชทานรางวัลเป็นอันมากทั้งทรัพย์สินเงินทอง ข้าทาสบริวารและที่ดิน แต่หมอชีวกขอรับเพียงอย่างเดียวคือสวนมะม่วง จากนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงแต่งตั้งให้เป็น แพทย์หลวงประจำพระองค์
๒. ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ ซึ่งป่วยปวดศีรษะมานานเกือบ ๑๐ ปี
๓. ผ่าตัดโรคฝีในลำไส้ให้ลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี
๔. รักษาอาการประชวรด้วยโรควัณโรคปอด ให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี
ในการรักษาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้น หมอชีวกเกือบถูกประหารชีวิตเนื่องจากพระ องค์ท่านมีพระอัธยาศัยโหดร้าย สั่งประหารคนง่าย ๆ โดยไม่มีเหตุผลและพระองค์เกลียดกลิ่น เนยใสเป็นที่สุด บังเอิญยาที่จะรักษานั้นก็มีส่วนผสมเนยใสอยู่ด้วย ทำให้หมอชีวกหนักใจมาก จึงวางแผนเตรียมก่อนที่จะถวายการรักษา ได้กราบทูลขอพระราชทานช้างชื่อภัททวดี ซึ่งมีฝี เท้าเร็ว และประตูเมืองหนึ่งประตู โดยอ้างว่าเพื่อสะดวกในการออกไปเที่ยวหาตัวยาสมุนไพร ซึ่งบางชนิดต้องเก็บในเวลากลางคืน บางชนิดต้องเก็บในเวลากลางวัน การรักษาจึงจะได้ผล
หลอกให้พระเจ้าจุณฑปัชโชต เสวยเนยใส หมอชีวกได้ผสมยาโดยเคี่ยวใส่เนยใสบนเตาไฟจนสี รส และ กลิ่น เปลี่ยนไปเสร็จ แล้วนำเข้าไปถวายพระราชากราบทูลว่าเป็นโอสถสูตรใหม่มิได้ผสมเนยใสเมื่อพระราชาเสวย แล้วกราบทูลลากลับเพื่อขอไปจัดโอสถมาถวายอีก พอออกมาพ้นพระราชนิเวศน์แล้วรีบตรงไปยังโรงช้าง แจ้งแก่พนักงานดูแลช้างว่าขอช้างพังชื่อภัททวดี เพื่อรีบไปเก็บตัวยาเมื่อขึ้นหลังช้างแล้วรีบออกจากกรุงอุชเชนี ทันที
พระโอสถที่พระจ้าจัณฑปัชโชตเสวยแล้ว ก็ละลายกระจายรสและกลิ่นออกมา ทำให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต ได้กลิ่นเนยใส จึงกริ้วขึ้นมาทันที รับสั่งให้ทหารรีบไปจับตัวหมอชีวกมา โดยเร็ว เมื่อทรงทราบว่าหนีออกจากเมืองไปแล้วรับสั่งให้ทหารนำพาหนะที่มีฝีม้าเร็วติดตาม จับตัวมาให้ได้ และทหารผู้นั้นก็ได้ติดตามไปทับ ณ หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามที่หมอชี วกได้คาการณ์ไว้แล้วจึงเตรียมยาระบายอย่างแรงซ่อนไว้ในเล็บ เมื่อนายทหารผู้นั้นจะเข้ามาจับ กุม จึงถูกหมอชีวกหลอกให้กินยาระบายจนถ่ายท้องหมดเรี่ยวแรง ปล่อยให้หมอชีวกหนีต่อไปได้
ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชต เมื่อพระโอสถออกฤทธิ์แล้ว พระอาการประชวรก็หายเป็น ปกติ พระวรกายโปร่งเบาสบาย รู้สึกขอบใจหมอชีวก แม้ทหารที่ติดตามไปจับตัวหมอชีวก แล้วถูกหลอกให้กินยาระบายจับตัวไม่ได้ กลับมารายงานแล้ว พระราชาก็มิได้กริ้วโกรธแต่ ประการใด รับสั่งให้จัดส่งของมีค่าหลายประการรวมทั้งผ้าเนื้อดีจากแคว้นการสี อันเป็นที่นิยม กันว่าเป็นผ้าดีฝีมือการเย็บการทอยอดเยี่ยมกว่าผ้าเมืองอื่น ๆ ให้ทูตนำไปมอบให้แก่หมอชีวก โกมารภัจจ์ ที่กรุงราชคฤห์ หมอชีวกรับของรางวัลมาแล้วพิจารณาเห็นว่าเป็นผ้าเนื้อดีไม่สมควร ที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้เก็บรักษาไว้เพื่อ นำไปถวายพระบรมศาสดาต่อไป
แพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ พระเจ้าพิมพิสารนอกจากจะแต่งตั้งให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นแพทย์ประจำพระองค์ แล้ว ยังมอบให้รับหน้าที่เป็นแพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอีกด้วย หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้เคยถวายการรักษาให้พระบรมศาสดาครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง คือ
ครั้งแรก ได้ปรุงยาระบายชนิดพิเศษถวาย เพื่อระบายสิ่งหมักหมมในพระวารกายออก ครั้งที่สอง ในคราวที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์พระศาสดาแต่หินกลิ้งไป ผิดทาง มีเพียงสะเก็ดหินก้อนเล็ก ๆ กระเด็นมากระทบพระบาทจนทำให้พระโลหินห้อขึ้น หมอชีวกได้ปรุงพระโอสถพอกที่แผลแล้วใช้ผ้าพันแผลไว้พอรุ่งขึ้นตอนเช้าแผลก็หายสนิท เป็นปกติ
นอกจากนี้หมอชีวกยังได้ให้การรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคต่าง ๆ โดยไม่คิด มูลค่า จนไม่ค่อยจะมีเวลารักษาให้คนทั่ว ๆ ไป เพราะท่านหมอมีความห่วงใยพระภิกษุสงฆ์ มากกว่าจงเป็นเหตุให้คนบางพวกเมื่อเจ็บป่วยหรือเป็นโรคขึ้นมา ก็พากันมาบวชเพื่อสะดวกแก่ การให้หมอรักษา พอหายดีแล้วก็ลาสิกขาไป กราบทูลขอพรห้ามบวชคนที่มีโรคติดต่อ สมัยหนึ่งในพระนครราชคฤห์เกิดโรคสกปรก โรคติดต่อและโรคร้ายแรง ระบาดไป ทั่วกรุงละจังหวัดใกล้เคียง เช่น = กุฏฐัง = โรคเรื้อน = คัณโฑ = โรคฝีดาษ = กิลาโส = โรคกลาก = โสโส = โรคไข้มองคร่อ = อปมาโร = โรคลมบ้าหมู ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นกันทั่วไปแก่ประชาชนพลเมือง ทั้งภายนอกทั้งภายในราชสำนัก ตลอดจนพระสงฆ์ในอารามต่าง ๆ หมอทั้งหลายต้องทำงานกันอย่างหนัก ส่วนหมอชีวกโกมาร ภัจจ์ ก็จะให้การรักษาแก่พระภิกษุสงฆ์และบุคคลภายราชสำนักก่อน เนื่องจากหมอชีวกโกมาร ภัจจ์ รักษาแล้วได้ผลหายเร็วค่ารักษาถูกกว่าหมออื่น โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์แล้วจะรักษาให้ โดยไม่คิดค่ายาค่ารักษาแต่ประการใด
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีคนคิดอาศัยพระศาสนาเพื่อเข้ามารักษาตัว โดยเข้ามาบวชเป็น พระให้หมอรักษาจนหายจากโรคที่เป็นอยู่แล้วก็สึกออกไป และคนพวกนี้ก็เป็นตัวนำเชื้อโรค บางอย่างมาแพร่เชื่อติดต่อให้พระ เช่น โรคเรื้อนและโรคกลากเกลื้อน เป็นต้น จนระยะหลัง ๆ หมอชีวกสังเกตเห็นว่าคนหัวโล้นมีมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม เมื่อสอบถามดู จึงได้ทราบความจริงว่าเพิ่งสึกมาจากพระ และที่บวชก็มิได้บวชด้วยศรัทธา แต่บวชเพื่อรักษา ตัว เมื่อโรคหายแล้วก็สึกออกมา
ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งหมอชีวกเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลของพรว่า “ขออย่าได้บวชให้คนที่มีโรคติดต่อทั้ง ๕ ชนิดข้างต้นเลย” พระพุทธองค์ประทานให้ตามที่กราบทูลขอ และได้ประกาศให้ภิกษุสงฆ์ทราบโดยทั่ว กัน ตั้งแต่นั้นมา คนที่เป็นโรคทั้ง ๕ ชนิดนั้นก็ไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้
กราบทูบขอพรให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้ หมอชีวกโกมารภัจจ์ หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชตจนหาย เป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อ ดี อย่างนี้ ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้” พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ
การที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้นภิกษุใช้สอยแต่ ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ชาวบ้านทั้งหลายทิ้งตามกองขยะบ้าง กองหยากเยื่อบ้าง ผ้าที่ห่อศพทิ้งในป่า บ้าง นำมาทำความสะอาดแล้วเย็บย้อมเป็นผ้าสบงจีวร สำหรับนุ่งห่ม จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้าน ถวาย หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอพรและ ได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก ผ้าที่ภิกษุรับอย่างนี้เรียกว่า “คฤหบดีจีวร”
แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธ ดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้ รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้ พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกผู้ถวายผ้านั้น เมื่อ จบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือพระ โสดาบัน หมอชีวกโกมารภัจจ์ สร้างวัด หมอชีวกโกมารภัจจ์ เมื่อยามว่างเว้นจากการรักษาคนไข้ก็หวนคิดถึงตนเอง มีความ ปรารถนาจะเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบรมศาสดาอย่างน้อยวันละ ๒ เวลา เช้า-เย็น เพื่ออบรมจิตใจได้ มากขึ้น แต่วัดเวฬุวันก็ตั้งอยู่ห่างไกลจากบ้าน อีกทั้งไม่สะดวกในการฟังธรรม และการรักษา พยาบาลภิกษุไข้ จึงได้น้อมนำถวายสวนมะม่วงที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้แก่ตนนั้น สร้างวัดถวายในพระพุทธศาสนาสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับส่วนพระพุทธองค์ พร้อมด้วยกุฏ สงฆ์ ศาลาฟังธรรมบ่อน้ำ และกำแพงขอบเขตวัดพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งแล้ว กราบทูลอาราธนา พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเสด็จเข้าประทับยังพระอารามใหม่นั้นถวาย อาหารบิณฑบาตเป็นการฉลองพระอารามแล้ว หลังน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของ พระบรมศาสดา กล่าวอุทิศถวายมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร ให้เป็นศาสนสถานอยู่จำ พรรษาของภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ พระอารามใหม่นี้ได้นามตามผู้ถวายว่า “ชีวกัมพวัน” (ชีวก+อัมพวัน)
พาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อชาตศัตรูราชกุมาร มีพระอัธยาศัยคิดทรยศไม่ซื่อตรง ขาดความจงรักภักดีต่อพระเจ้า พิมพิสาร ผู้เป็นพระราชบิดาอยู่แล้ว ต่อมาได้คบหาสมาคมกับพระเทวทัต มีศรัทธาเลื่อมใสได้ ให้ความอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย ๔ ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระบิดา อีกทั้งให้การ สนับสนุนพระเทวทัตกระทำอนัตริยกรรมลอบปลงพระชนม์พระบรมศาสดาและทำสังฆเภท ทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน ต่อมา พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบเพราะกระทำกรรมหนัก พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทราบ ข่าวก็สะดุ้งพระทัยกลัวภัยจะถึงตัว ถึงกับเสวยไม่ได้บรรทมไม่หลับติดต่อกันหลายวัน กลัด กลุ้มพระทัยเป็นที่สุด คืนเพ็ญวันหนึ่งพระองค์ไม่สามารถจะนิทราหลับลงได้ จึงเรียกอำมาตย์ ทั้งหลายเข้าเฝ้ายามดึกทรงปรึกษาว่า “คืนเดือนเพ็ญอย่างนี้จะไปหาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลคนดี จึงจะสามารถทำจิตใจให้สงบได้” พวกอำมาตย์ล้วนแต่แนะนำเดียรถีย์อาจารย์ของตน ได้แก่ ครูทั้ง ๖ ซึ่งพระเจ้าอชาต ศรัตรูก็เคยไปฟังคำสอนมาแล้วล้วนแต่ไร้สาระทั้งสิ้น
หมอชีวกโกมารภัจจ์ อยู่ในที่นั้นด้วย จึงกราบทูลแนะนำให้ไปเฝ้า พระสมณโคดมบรมศาสดา ซึ่งขณะนี้พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ชีวกัมพวันใกล้ ๆ บ้านของตน นี่เอง พระเจ้าอชาตศรัตรูทรงเห็นด้วย จึงเสด็จไปพร้อมด้วยกองจตุรงคเสนา เมื่อเสด็จไปถึง ได้เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ตรัสทักทายปฏิสันถารขึ้นก่อนแล้ว ตรัสถามถึงราชกิจต่าง ๆ ทำให้พระเจ้าอชาตศรัตรูไม่เก้อเขิน และทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ที่ พระพุทธองค์ไม่ทรงถือโทษในการกระทำของพระองค์ที่ผ่านมา
พระพุทธองค์ ทรงทราบว่าพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระทัยผ่องใสดีแล้ว จึงแสดงพระธรรม เทศนา สมัญผลสูตร ให้ทรงสดับ เมื่อจบลงทรงมีพระทัยผ่องใสโสมนัสยิ่งขึ้น เกิดศรัทธา เลื่อมใสถวายตัวเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต (ถ้าพระองค์ไม่ทำ ปิตุฆาตคือฆ่าพระบิดาเสียก่อน ก็จะได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นแน่) จากนั้น ได้กราบขอขมาโทษต่อพระพุทธองค์เสด็จกลับพระราชนิเวศน์
หมอชีวกโกมารภัจจ์ ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ทั่วไปเป็นอเนกประการ ท่านเป็นอุบาสกผู้เป็นพระอริยชั้นพระโสดาบัน พระบรมศาสดา ได้ ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เลื่อมใสในบุคคล
ข้อมูลจาก
สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)