วท. จับมือ ม.ขอนแก่น ใช้แสงซินโครตรอนตรวจพืชสมุนไพร พบกิ่งสนสามใบ และติ้วขน มีสารต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และ ทีมงานวิจัยได้ ร่วมกันบรรยายผลงานวิจัย “ซินโครตรอนกับการศึกษาสารต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร” เพื่อพัฒนายาต้านมะเร็งโดยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย
ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นโครงการบูรณาการเพื่อสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจากสารสกัดพืชสมุนไพรไทย โดยต่อยอดมาจากงานวิจัยผลสำรวจพืชพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ซึ่งมาจากกลุ่มผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนในปี 2554 และ เป็นการศึกษามะเร็งอย่างต่อเนื่อง
ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวในเรื่องของการนำสารสกัดจากพืชสมุนไพร ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จากการศึกษาพืชสมุนไพรหลายชนิด พบว่า สารสกัดจากกิ่งของพืช 2 ชนิด คือ ติ้วขน และ สนสามใบ มีสารออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีศักยภาพทำให้เซลล์มะเร็งค่อยๆ สลายตัวจากการทำลายตัวเอง และ มีเพียงเซลล์มะเร็งเท่านั้นที่ตาย ผู้ป่วยจะไม่ได้รับผลเคียงข้างจากการใช้ยานี้
“แม้ในปัจจุบัน การรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา โดยเฉพาะเมื่อเซลล์มะเร็งดื้อยา ทำให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดไม่ประสบความสำเร็จ หากการพัฒนาเพื่อใช้สารจากกิ่งของติ้วขน และ สนสามใบ ใช้ประกอบกับยาเคมีบำบัดจะช่วยในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา กล่าว
ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า การตรวจหากลไกของการออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด ใช้เทคนิคจุลทรรศน์อินฟราเรด (FTIR microspectroscopy) จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดนี้ ทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยการชักนำให้มีการสร้างโปรตีนชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายตัวเอง นอกจากนั้นปริมาณของ ไขมัน โปรตีน และกรดนิวคลีอิกจะ มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่แตกต่างจากกลไกการออกฤทธิ์ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีต่อการใช้ยาเคมีมาตรฐานชนิดเมลฟาแลน
งานวิจัยครั้งนี้ได้นำเทคนิคการวิเคราะห์แบบใหม่มาใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิต โดยการใช้เทคนิคจุลทรรศน์ อินฟราเรด สามารถใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลระดับเซลล์ อีกทั้งไม่ต้องใช้สารเคมีในขั้นตอนการเตรียมตัว และยังใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์สั้น ซึ่งแตกต่างกับการวิเคราะห์ทางชีวเคมีทั่วไป ทำให้นักวิจัยได้ข้อมูลทางวิชาการในรูปแบบใหม่ และมีผลในการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น
การนำแสงซินโครตรอนศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของพืชสมุนไพรในเชิงลึก จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเริ่มต้นพัฒนาสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ปลอดจากภัยของโรคมะเร็ง
เครคิตข่าวจาก http://www.posttoday.com/
20 กรกฎาคม 2555 เวลา 15:12 น.
วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
5 สมุนไพรช่วยขับประจำเดือน
ที่มีอยู่ในบ้านเรามานำเสนอ ซึ่งขอบอกเลยว่า จะช่วยขับประจำเดือนให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้นได้อีกเยอะ
1. กระบือเจ็ดตัว
Excoecaria cochinchinensis Lour.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น กะเบือ กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ
ลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีแดง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพียง 2-3 ดอก
ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ-ใช้ใบตำกับเหล้าคั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด และน้ำคาวปลาหลังคลอด การทดลองในสัตว์ พบว่าสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก
2. เจตมูลเพลิงขาว
White-colored Leadwort
Plumbago zeylanica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวขาว
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง หรือพาดพันบนต้นไม้อื่นๆ สูง 1-2 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-9 ซม. สีเขียวแกมเหลือง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้สีม่วงน้ำเงิน กลีบเลี้ยงมีต่อมน้ำหวานติดมือ
ผลแห้ง รูปขอบขนาน แตกได้เป็น 5 ปาก มีร่องตามยาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ลำต้น, ราก-มีรสร้อน ใช้แทนรากเจตมูลเพลิงแดงได้ มีสรรพคุณขับประจำเดือน ขับลมในกระเพาะ และลำไส้ ขับประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร เข้ายาบำรุงธาติ บำรุงโลหิต สารสกัดจากรากมีฤทธิ์บีบมดลูก และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย และเชื้อรา สาร plumbagin ที่แยกได้จากรากมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ลดไขมันในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
3. เจตมูลเพลิงแดง
Rose-colored Leadwort
Plumbago indica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวแดง ไฟใต้ดิน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากแห้ง-ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัว ของมดลูก และลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้
4. ยอ
Indian Mulberry
Morinda citrifolia Linn.
RUBIACEAE
ชื่ออื่น มะตาเสือ ยอบ้าน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 2-6 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว
ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผล-ตำรายาของเวียดนาม ระบุว่า ผลเป็นยาขับเลือดต่างๆ ขับประจำเดือนด้วย ยาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไปอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside
5. ว่านชักมดลูก
Curcuma xanthorrhiza Roxb.
ZINGIBERACEAE
ยรูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก กว้าง 15-20 ซม. ยาว 40-90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ
ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า-ใช้เหง้ารักษาอาการประจำเดือนมาผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร
ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info
1. กระบือเจ็ดตัว
Excoecaria cochinchinensis Lour.
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น กะเบือ กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ
ลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.5-1.5 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. หลังใบสีเขียว ท้องใบสีแดง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้มีดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกตัวเมีย มีเพียง 2-3 ดอก
ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ-ใช้ใบตำกับเหล้าคั้นน้ำ กินเป็นยาขับเลือด และน้ำคาวปลาหลังคลอด การทดลองในสัตว์ พบว่าสารสกัดด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์บีบมดลูก
2. เจตมูลเพลิงขาว
White-colored Leadwort
Plumbago zeylanica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวขาว
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง หรือพาดพันบนต้นไม้อื่นๆ สูง 1-2 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-9 ซม. สีเขียวแกมเหลือง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้สีม่วงน้ำเงิน กลีบเลี้ยงมีต่อมน้ำหวานติดมือ
ผลแห้ง รูปขอบขนาน แตกได้เป็น 5 ปาก มีร่องตามยาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ลำต้น, ราก-มีรสร้อน ใช้แทนรากเจตมูลเพลิงแดงได้ มีสรรพคุณขับประจำเดือน ขับลมในกระเพาะ และลำไส้ ขับประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร เข้ายาบำรุงธาติ บำรุงโลหิต สารสกัดจากรากมีฤทธิ์บีบมดลูก และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย และเชื้อรา สาร plumbagin ที่แยกได้จากรากมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ลดไขมันในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
3. เจตมูลเพลิงแดง
Rose-colored Leadwort
Plumbago indica Linn.
PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น ปิดปิวแดง ไฟใต้ดิน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 0.8-1.5 เมตร ลำต้นกลมเรียบ มีสีแดงบริเวณข้อ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-10 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีต่อม ซึ่งเมื่อจับจะรู้สึกเหนียว กลีบดอกสีแดง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากแห้ง-ใช้ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร พบว่ามีสาร plumbagin ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัว ของมดลูก และลำไส้ ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่ควรระวังในการใช้ เนื่องจาก plumbagin ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้
4. ยอ
Indian Mulberry
Morinda citrifolia Linn.
RUBIACEAE
ชื่ออื่น มะตาเสือ ยอบ้าน
รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 2-6 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว
ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผล-ตำรายาของเวียดนาม ระบุว่า ผลเป็นยาขับเลือดต่างๆ ขับประจำเดือนด้วย ยาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไปอ่อนๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำดื่ม แก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside
5. ว่านชักมดลูก
Curcuma xanthorrhiza Roxb.
ZINGIBERACEAE
ยรูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร หัวใต้ดินขนาดใหญ่ อาจยาวถึง 10 ซม. เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก กว้าง 15-20 ซม. ยาว 40-90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ
ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ ก้านดอกยาว 15-20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า-ใช้เหง้ารักษาอาการประจำเดือนมาผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร
ที่มาข้อมูล : www.e-magazine.info
วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
" คำฝอย " ยาลดไขมันในเส้นเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.
|
ชื่อสามัญ : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
|
วงศ์ : Compositae
|
ชื่ออื่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก
|
สรรพคุณ :
|
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้สารเคมี ดอก พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว คุณค่าด้านอาหาร ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้ ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง |
ข้อมูลจาก
บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
พสกนิกรปลาบปลื้มได้เห็น "พระหัตถ์ในหลวง"ชาวเน็ตร่วมแชร์ภาพประทับใจ
พสกนิกรปลาบปลื้มได้เห็นพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จฯทางชลมารคทรงเปิด 5 โครงการของกรมชลประทาน
ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯลงมาจากชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปยังท่าเทียบเรือหน้ากรมชลประทาน เพื่อทรงเปิดโครงการของกรมชลประทาน จำนวน 5 โครงการ ทางชลมารค
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระหัตถ์บนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการฯ เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น นอกจากพสกนิกรทั่วไปจะได้ชมการถ่ายทอดสดการเสด็จดังกล่าวแล้ว ยังได้เห็นภาพพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงวางบนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการฯ สร้างความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภาพดังกล่าวได้ถูกนำไปแชร์และส่งต่อเผยแพร่อย่างล้นหลาม
ภาพและข่าว จาก
updated: 08 ก.ค. 2555 เวลา 19:58:21 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ย้ำผลวิเคราะห์ หญ้าหยาดน้ำค้างไม่มีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง
สำนักข่าวไทย 1 ก.ค.-นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า หญ้าหยาดน้ำค้าง เป็นข่าวที่ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ว่าต้มกินรักษาโรคได้เกือบทุกชนิด เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคที่รักษาไม่หาย รวมทั้งโรคปวดเข่า ข้อกระดูก และอ้างว่าเป็นยาผีบอกนั้น เคยเป็นข่าวมาแล้วที่จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2555 โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระะทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เก็บตัวอย่างหญ้าดังกล่าวมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ผลการตรวจพบว่า หญ้าดังกล่าว เป็นหญ้ากาบหอยตัวเมีย มีชื่อทางพฤษศาสตร์รู้จักกันทั่วโลกว่า ลินเดอเนีย ครัสตาซี (Lindernia crustacea (L.) F. Muell. var. crustacea ) ในไทยเรียกชื่อหญ้าชนิดนี้แตกต่างกัน เช่น กรุงเทพฯเรียกตะขาบไต่ดิน นราธิวาสเรียกว่าหญ้ามันลิง หรือเรียกหญ้าหยาดน้ำค้าง จากรายงานการใช้ประโยชน์จากหญ้าชนิดนี้ทั้งในไทยและต่างประเทศ ยังไม่มีงานวิจัยว่ามีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง โรคปวดเข่าหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ แต่อย่างใด ในไทยพบเพียงมีการนำใบอ่อนใช้กินเป็นผักแกล้ม หมอพื้นบ้านในภาคอีสาน ใช้ลำต้นเป็นยารักษากามโรค ใช้ใบปรุงเป็นยาต้มดื่มหลังคลอด ส่วนในต่างประเทศ พบในอินเดีย มีการนำหญ้ากาบหอยตัวเมีย มาตากแห้ง บดเป็นผงและละลายน้ำ ดื่มในตอนเช้าเพื่อล้างท้อง ใช้ใบเคี้ยวกับน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มการหลั่งของน้ำดี และใช้เป็นยาทาภายนอก รักษาโรคกลากเกลื้อน แผลน้ำร้อนลวก โรคผิวหนัง เพื่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และมีรายงานที่มาเลเซีย ใช้ทั้งลำต้น ใส่แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลอักเสบ โดยเฉพาะแผลที่โดนเห็บป่ากัด และใช้ในสตรีหลังคลอด
จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวลือ หรือยาผีบอก ที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการรักษาในตำราของหมอ หญ้ากาบหอยตัวเมีย พบขึ้นได้ทั่วไปบริเวณริมถนน นาข้าว ริมน้ำ ในไทยพบทุกภาค.- สำนักข่าวไทย
ที่มา สำนักข่าวไทย
ผลการตรวจพบว่า หญ้าดังกล่าว เป็นหญ้ากาบหอยตัวเมีย มีชื่อทางพฤษศาสตร์รู้จักกันทั่วโลกว่า ลินเดอเนีย ครัสตาซี (Lindernia crustacea (L.) F. Muell. var. crustacea ) ในไทยเรียกชื่อหญ้าชนิดนี้แตกต่างกัน เช่น กรุงเทพฯเรียกตะขาบไต่ดิน นราธิวาสเรียกว่าหญ้ามันลิง หรือเรียกหญ้าหยาดน้ำค้าง จากรายงานการใช้ประโยชน์จากหญ้าชนิดนี้ทั้งในไทยและต่างประเทศ ยังไม่มีงานวิจัยว่ามีสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง โรคปวดเข่าหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ แต่อย่างใด ในไทยพบเพียงมีการนำใบอ่อนใช้กินเป็นผักแกล้ม หมอพื้นบ้านในภาคอีสาน ใช้ลำต้นเป็นยารักษากามโรค ใช้ใบปรุงเป็นยาต้มดื่มหลังคลอด ส่วนในต่างประเทศ พบในอินเดีย มีการนำหญ้ากาบหอยตัวเมีย มาตากแห้ง บดเป็นผงและละลายน้ำ ดื่มในตอนเช้าเพื่อล้างท้อง ใช้ใบเคี้ยวกับน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มการหลั่งของน้ำดี และใช้เป็นยาทาภายนอก รักษาโรคกลากเกลื้อน แผลน้ำร้อนลวก โรคผิวหนัง เพื่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และมีรายงานที่มาเลเซีย ใช้ทั้งลำต้น ใส่แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลอักเสบ โดยเฉพาะแผลที่โดนเห็บป่ากัด และใช้ในสตรีหลังคลอด
จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวลือ หรือยาผีบอก ที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการรักษาในตำราของหมอ หญ้ากาบหอยตัวเมีย พบขึ้นได้ทั่วไปบริเวณริมถนน นาข้าว ริมน้ำ ในไทยพบทุกภาค.- สำนักข่าวไทย
ที่มา สำนักข่าวไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)