วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร โชว์ "ยานอน"ภูมิปัญญาชาวไทยใหญ่ นอนในเรือบ่มสมุนไพรห่อตัวด้วยใบไม้ 5 ชนิด ช่วยถอนพิษทั่วร่างกาย แก้ปวดหลังเรื้อรัง
22ส.ค.2555 ในการแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ภายใต้แนวคิด "นวดไทย มริดกไทย สุ่มรดกโรค" ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-9 กันยายนนี้ ที่อิมแพค เมืองทองธานี มีการนำภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่จะมีการเผยแพร่ภายในมาจัดแสดง โดยวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ได้นำเสนอ "ยานอน"
น.ส.ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์ อาจารย์แพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร อธิบายว่า ยานอนจะช่วยขับพิษออกจากร่างกาย โดยชาวไทยใหญ่เชื่อว่าโรคต่างๆที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังในร่างกายว่าโรคที่เกิดจากพิษ มีทั้งพิษร้อนทำให้เกิดอาการปวดและพิษเย็นทำให้หนาว รวมถึง พิษที่เกิดบริเวณผิวหนัง ผดผื่น ภูมิแพ้ต่างๆ แมลงกัดต่อย และแพ้เหงื่อตัวเองเป็นต้น
"ยานอนจะซึมเข้าสู่ผิวหนังไปช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยชะล้างความเป็นพิษ นอกจากนี้ ความร้อนจากสมุนไพรจะช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้พิษถูกขับออกมาทางเหงื่อ"น.ส.ชลาลัยกล่าว
น.ส.ชลาลัย กล่าวอีกว่า การทำยานอนในสมัยอดีตจะทำในเรือ เนื่องจากไม้ที่นำมาทำเรือส่วนใหญ่เป็นไม้ขุด จากต้นตาล ต้นตะเคียน และต้นอบเชย เมื่อลงน้ำแล้วนำมาให้คนนอจะมีสรรพคุณในการดูดพิษ แต่สมัยปัจจุบันสามารถทำยานอนบนไม้กระดานหรืออ่างจากุชชี่ได้เช่นกัน โดยขั้นตอนเริ่มจากการนำใบพืชสมุนไพร 5 ชนิดมาปูรองให้คนนอน ได้แก่ ใบกล้วยน้ำหว้า มีฤทธิ์ฝาดเย็น ช่วยดูดพิษความร้อน ,ใบว่านสาวหลง หรือใบข่า ใบไคร ใบขิง ,ใบแหยง ฤทธิ์ช่วยการไหลเวียน ,ใบพลับพลึง อมความร้อนและใบอบเชย ขยายรูขุมขน จากนั้นตำสสมุนไรพราว 37 ชนิดแล้วนำมาวางตามแนวกระดูกสันหลังและบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น วางบริเวณหน้าท้องของผู้หญิงที่ปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนเป็นประจำ ในแต่ละครั้งจะใช้เวลา ครึ่งชั่วโมง- 1 ชั่วโมง
จาก หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก วันที่ 28-08-2555
น.ส.ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์ อาจารย์แพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร อธิบายว่า ยานอนจะช่วยขับพิษออกจากร่างกาย โดยชาวไทยใหญ่เชื่อว่าโรคต่างๆที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังในร่างกายว่าโรคที่เกิดจากพิษ มีทั้งพิษร้อนทำให้เกิดอาการปวดและพิษเย็นทำให้หนาว รวมถึง พิษที่เกิดบริเวณผิวหนัง ผดผื่น ภูมิแพ้ต่างๆ แมลงกัดต่อย และแพ้เหงื่อตัวเองเป็นต้น
"ยานอนจะซึมเข้าสู่ผิวหนังไปช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยชะล้างความเป็นพิษ นอกจากนี้ ความร้อนจากสมุนไพรจะช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้พิษถูกขับออกมาทางเหงื่อ"น.ส.ชลาลัยกล่าว
น.ส.ชลาลัย กล่าวอีกว่า การทำยานอนในสมัยอดีตจะทำในเรือ เนื่องจากไม้ที่นำมาทำเรือส่วนใหญ่เป็นไม้ขุด จากต้นตาล ต้นตะเคียน และต้นอบเชย เมื่อลงน้ำแล้วนำมาให้คนนอจะมีสรรพคุณในการดูดพิษ แต่สมัยปัจจุบันสามารถทำยานอนบนไม้กระดานหรืออ่างจากุชชี่ได้เช่นกัน โดยขั้นตอนเริ่มจากการนำใบพืชสมุนไพร 5 ชนิดมาปูรองให้คนนอน ได้แก่ ใบกล้วยน้ำหว้า มีฤทธิ์ฝาดเย็น ช่วยดูดพิษความร้อน ,ใบว่านสาวหลง หรือใบข่า ใบไคร ใบขิง ,ใบแหยง ฤทธิ์ช่วยการไหลเวียน ,ใบพลับพลึง อมความร้อนและใบอบเชย ขยายรูขุมขน จากนั้นตำสสมุนไรพราว 37 ชนิดแล้วนำมาวางตามแนวกระดูกสันหลังและบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น วางบริเวณหน้าท้องของผู้หญิงที่ปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนเป็นประจำ ในแต่ละครั้งจะใช้เวลา ครึ่งชั่วโมง- 1 ชั่วโมง
จาก หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก วันที่ 28-08-2555